4/04/2556


สมัยบาโรก



คำว่า “Baroque” มาจากคำว่า “Barroco” ในภาษาโปรตุเกสซึ่งหมายถึง “ไข่มุกที่มีสัณฐานเบี้ยว” (Irregularly shaped pearl)
Jacob Burckhardt เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้เรียกสไตล์ของงานสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมในคริสต์ศตวรรษที่ 17
ที่เต็มไปด้วยการตกแต่งประดับประดาและให้ความรู้สึกอ่อนไหว
(ไขแสง ศุขวัฒนะ,2535:96)

ในด้านดนตรี ได้มีผู้นำคำนี้มาใช้เรียกสมัยของดนตรีที่เกิดขึ้นในยุโรป เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาสิ้นสุดลงราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นเวลาร่วม 150 ปี เนื่องจากสมัยบาโรกเป็นสมัยที่ยาวนานรูปแบบของเพลงจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบของเพลงที่สามารถกล่าวได้ว่า
เป็นลักษณะเด่นที่สุดของดนตรี

บาโรกได้ปรากฏในบทประพันธ์ของ เจ.เอส.บาคและยอร์ช ฟริเดริค เฮนเดล ซึ่งคีตกวีทั้งสองนี้ได้แต่งขึ้นในช่วงเวลาครึ่งแรกของศตวรรษที่ 18 ในตอนต้นสมัยบาโรกคีตกวีส่วนมากได้เลิกนิยมสไตล์โพลี่โฟนี (Polyphony) ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งแนวขับร้องแต่ละแนวในบทเพลงต่างมีความสำคัญทัดเทียมกันและหันมาสนใจสไตล์โมโนดี (Monody) ซึ่งในบทเพลงจะมีแนวขับร้องเพียงแนวเดียวดำเนินทำนอง และมีแนวสำคัญที่เรียกในภาษาอิตาเลี่ยนว่า “เบสโซคอนตินิวโอ (Basso Continuo)” ทำหน้าที่เสียงคลอเคลื่อนที่ตลอดเวลาประกอบ ทำให้เกิดคอร์ดขึ้นมา อย่างไรก็ตามคีตกวีรุ่นต่อมาก็มิได้เลิกสไตล์โฟลี่โฟนีเสียเลยทีเดียวหากยังให้ไปปรากฏในดนตรีคีย์บอร์ดในแบบแผนของฟิวก์ (Fugue) ออร์แกนโคราล (Organchorale) ตลอดจนทอคคาตา (Toccata) ซึ่งแต่งโดยใช้เทคนิค เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint)

ในสมัยบาโรก ดนตรีศาสนาในแบบแผนต่าง ๆ เช่น ออราทอริโอ แมส พาสชัน คันตาตา
ในศาสนา (Church Cantata) คีตกวีก็นิยมแต่งกันไว้มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แมสใน บี ไมเนอร์”
ของ เจ.เอส. บาค และออราทอริโอ เรื่อง “The Messiah” ของเฮนเดล จัดได้ว่าเป็นดนตรีศาสนาที่เด่นที่สุดของสมัยนี้

ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งของดนตรีสมัยบาโรกคือ การทำให้เกิด “ความตัดกัน”
(Contrasting) เช่น ในด้าน ความเร็ว – ความช้า ความดัง – ความค่อย การบรรเลงเดี่ยว – การ
บรรเลงร่วมกัน วิธีเหล่านี้พบในงานประเภท ตริโอโซนาตา (Trio Sonata) คอนแชร์โต กรอซโซ
(Concerto Grosso) ซิมโฟเนีย (Simphonia) และคันตาตา (Cantata) ตลอดสมัยนี้คีตกวีมิได้
เขียนบทบรรเลงส่วนใหญ่ของเขาขึ้นอย่างครบบริบูรณ์ ทั้งนี้เพราะเขาต้องการให้ผู้บรรเลงมีโอกาสแสดงความสามารถการเล่นโดยอาศัยคีตปฏิภาณหรือการด้นสด (Improvisation) และการประดิษฐ์เม็ดพราย (Ornamentation) ในแนวของตนเอง

ในสมัยบาโรกนี้การบันทึกตัวโน้ตได้รับการพัฒนามาจนเป็นลักษณะการบันทึกตัวโน้ตที่
ใช้ในปัจจุบัน คือการใช้บรรทัด 5 เส้น การใช้กุญแจซอล (G Clef) กุญแจฟา (F Clef) กุญแจอัลโต
และกุญแจเทเนอร์ (C Clef) มีการใช้สัญลักษณ์ตัวโน้ตและตัวหยุดแทนความยาวของจังหวะและตำแหน่งของตัวโน้ตบรรทัด 5 เส้น แทนระดับเสียงและยังมีตัวเลขบอกอัตราจังหวะมีเส้นกั้นห้องและสัญลักษณ์อื่น ๆ เพื่อใช้บันทึกลักษณะของเสียงดนตรี ดังนี้
(ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535: 147)






อย่างไรก็ตามลักษณะทั่วไปของดนตรีสมัยบาโรก สามารถสรุปกว้าง ๆ ได้ดังนี้
(อนรรฆ จรัณยานนท์,ม.ป.ป. :56)
1. เริ่มนิยมใช้สื่อที่ต่างกันตอบโต้กัน เช่น เสียงนักร้องกับเครื่องดนตรี การบรรเลงเดี่ยว
ตอบโต้กับการบรรเลงเป็นกลุ่ม
2. นิยมใช้เบสเป็นทั้งทำนองและแนวประสาน เรียกว่า Basso Continuo และมีวิธีบันทึก
เรียกว่า Figured bass
3. เริ่มมีการประสานเสียงแบบ Homophony ซึ่งเป็นการประสานเสียงแบบอิงคอร์ด และ
หลายแนวหนุนแนวเดียวให้เด่น
4. นิยมใช้บันไดเสียงเมเจอร์ (Major)และไมเนอร์ (Minor) แทนโมด (Mode)
5. เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ยังคงเป็นคุณลักษณะเด่นของสมัยนี้อยู่ โฮโมโฟนี
(Homophony) มีบทบาทหนุนส่งให้ เคาน์เตอร์พอยท์ สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
6. มีการระบุความเร็ว – ช้า และหนัก – เบา ลงไปในผลงานบ้าง เช่น adagio, andante และ allegro เป็นต้น
7. เทคนิคของการ Improvisation ได้รับความนิยมสูงสุด
8. มีคีตลักษณ์ (Form) ใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายแบบ
9. มีการจำแนกหมวดหมู่ของคีตนิพนธ์ และบัญญัติศัพท์ไว้เรียกชัดเจน
10. อุปรากร (Opera) ได้กำเนิดและพัฒนาขึ้นในสมัยนี้

ประวัติผู้ประพันธ์เพลง
 1. วิวัลดี (Antonio Vivaldi,1678-1741)
ผู้ประพันธ์เพลงและนักไวโอลินชาวอิตาเลียน เกิดปี 1678 ที่เมืองเวนิสอันลือชื่อ เป็นลูกของนักไวโอลินประจำโบสถ์เซ็นต์มาร์ค (St.Mark’s) ในเมืองเวนิส วิวัลดีได้รับการฝึกฝนเบื้องต้นทางด้านดนตรีจากพ่อ จากนั้นได้เรียนกับจีโอวานนี เลเกร็นซี (Giovanni Legrenzi) อาจารย์ดนตรีผู้มีชื่อเสียง วิวัลดีเป็นพระซึ่งรับผิดชอบการสอนดนตรีให้สถานเลี้ยงเด็กหญิงกำพร้าแห่งกรุงเวนิช

จากกิริยาท่าทางความใจบุญสุนทานและผมสีแดงตลอดจนการแต่งเนื้อแต่งตัวสีสันก็กระเดียดไปทางพระของเขานั่น
เองทำให้คนทั่วไปเรียกเขาว่า “II prete rosso” (the red priest) หรือเป็นภาษาไทยเรียกว่า
“พระแดง” (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :149)

เพลงที่วิวัลดีแต่งโดยมากมักเป็นเพลงสำหรับร้องและเล่นด้วยเครื่องดนตรีประเภทสตริง (String) ซึ่งมีผู้ชอบฟังมาก และมีนักแต่งเพลงในศตวรรษที่ 20 ของอิตาลีคนหนึ่ง ชื่อ คาเซลลา (Casella) ได้เขียนยกย่องงานของ
วิวัลดีไว้ว่า “เป็นผู้สร้างงานขึ้นมาด้วยความประณีตบรรจงอย่างยิ่ง สามารถทำให้ผู้ฟังปล่อยอารมณ์เคลิบเคลิ้มตามเนื้อและทำนองเพลงได้โดยไม่รู้ตัว” งานของวิวัลดีมีมากมายไม่แพ้คีตกวีคนอื่น ๆ ปัจจุบันนี้งานของเขายังมีต้นฉบับเก็บรักษาไว้ที่ห้องสมุดเมืองเดรสเดน (Dresden Library) อย่างสมบูรณ์

วิวัลดีถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1741 ที่เมืองเวียนนา ออสเตรีย อายุได้ 66 ปี
โดยไม่มีตำราหรือเอกสารใด ๆ กล่าวถึงการสมรสจึงเชื่อว่าวีวัลดีไม่มีภรรยาไม่มีบุตร อยู่ตัวคนเดียวในวัยชราและจากโลกนี้ไปในประเทศที่ไม่ใช่บ้านเกิดของตนเอง
ผลงานที่มีชื่อเสียง ผลงานที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของวิวัลดีได้แก่ คอนแชร์โต กรอซโซ ชุด “The Four Seasons”,
Concerto in E minor for Cello & Orchestra, Concerto for violin in A minor,Concerto
for Two Trumpet and Strings
 2. บาค (Johann Sebastian Bach 1685-1750) เกิดวันที่ 21 มีนาคม 1685 ที่เมืองไอเซนาค (Eisenach) ประเทศเยอรมันเกิดในตระกูลนัก ดนตรีได้รับการศึกษาเกี่ยวกับดนตรีจากพ่อซึ่งเป็นนักไวโอลินในราช สำนักชื่อโยฮัน อัมโบรซีอุส บาค
(Johann Ambrosius Bach) และญาติหลังจากพ่อเสียชีวิตลง บาคได้ไปอาศัยอยู่กับพี่ชาย
โยฮันน์ คริสโตฟ บาค (Johann Chistoph Bach) และบาคก็ขอให้พี่ชายช่วยสอนเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดให้ ต่อมาเรียนออร์แกนกับครูออร์แกนชื่อ เอลีอาส เฮอร์เดอร์ (Elias Herder)
บาคเรียนเครื่องดนตรีประเภทคีย์บอร์ดได้เร็วมากพี่ชายเห็นบาคก้าวหน้าทางดนตรีและเล่นดนตรีเก่ง พอ ๆ กับตนเลยเกิดความอิจฉากลัวน้องจะเกินหน้าเกินตาจึงเก็บโน้ตดนตรีของตนทั้งหมดใส่ตู้ไม่ให้บาคเอาไปเล่น
(ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 :110)

เมื่ออายุได้ 15 ปี เขาก็เริ่มเลี้ยงตัวเองโดยการเป็นนักออร์แกนและหัวหน้าวงประสานเสียงตามโบสถ์หลายแห่งใน
ประเทศเยอรมันปี 1723 บาค ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยเพลงร้องที่โบสถ์ St.Thomas’ Church ในเมือง Leipzig ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งสูงสุดทางดนตรีของโบสถ์ในนิกาย Luther

บาคเป็นนักออร์แกนและคลาเวียร์ที่มีฝีมือยอดเยี่ยมมากทีเดียว เขาเป็นผู้คิดวิธีการเล่นคลาเวียร์โดยการใช้หัวแม่มือและนิ้วก้อยเพิ่มเข้าไปเป็นคนแรก เพราะก่อนหน้านี้ยังไม่มีใครเคยทำกันมาก่อน ซึ่งนับว่าเป็นประโยชน์ในการเล่นคลาเวียร์ในสมัยต่อมา

บาคแต่งงานกับญาติตัวเองชื่อ มาเรีย บาร์บารา (Maria Barbara) ในวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1707 เมื่อเขาอายุได้ 20 ปี และมีลูก 7 คนก่อนที่เธอจะเสียชีวิตลงในปี 1720 บาคแต่งงานอีกครั้งกับนักดนตรีสาวชื่อแอนนา แมกดาเลนา วิลเคน (Anna Magdalena Wilcken)เดือนธันวาคม ค.ศ. 1721 และมีลูกด้วยกันอีก 13 คน ในบรรดาลูกทั้ง 20 คนมีเพียงคาร์ล ฟิลลิป เอมานูเอล (Carl Philip Emanuel Bach) ลูกคนที่ 2 และ โยฮัน คริสเตียน บาค (Johann Christian Bach) ลูกคนสุดท้องที่ได้กลายมาเป็นคีตกวีสำคัญในสมัยต่อ ๆ มา

บาคถึงแก่กรรมเมื่อ ปี ค.ศ. 1750 ไม่มีใครเอาใจใส่เก็บรักษาผลงานของเขาไว้เลย
ปล่อยให้กระจัดกระจายหายไปมากต่อมาปี ค.ศ. 1829 เกือบร้อยปีหลังจากที่บาคถึงแก่กรรม
เฟลิกซ์ เม็นเดิลโซห์น (Felix Mendelssohn) คีตกวีชาวเยอรมันได้นำเพลงเซ็นต์ แม็ทธิว แพ็สชั่น
(St. Matthew Passion) ของบาคออกแสดงที่กรุงเบอร์ลิน จึงทำให้ชื่อเสียงของบาคเริ่มเป็นที่รู้จักขยายวงกว้างออกไปทำให้คนเห็นคุณค่างานของเขา นอกจากนี้ยังถือว่าการถึงแก่กรรมของในปี ค.ศ. 1750 เป็นเครื่องหมายของการสิ้นสุดดนตรีสมัยบาโรกด้วย
ผลงานที่มีชื่อเสียง มีมากมายแต่ขอยกตัวอย่างคือ Air on a G String, Brandenbarg Concerto No.2 in F, Mass in B minor, Toccata and Fugue in D minor etc….
  3. ฮันเดล (George Frideric Handel,1685-1759)
เกิดวันที่ 23กุมภาพันธ์ 1685 เกิดที่เมืองฮันเล (Halle) ประเทศเยอรมันแต่มามีชื่อเสียงและมีชีวิตในประเทศอังกฤษภายหลังแปลงสัญชาติเป็นอังกฤษ ฮันเดลเกิดในตระกูลผู้มีอันจะกิน พ่อเป็นหมอชื่อ Handel

ในสมัยเด็กพ่อหวังให้ฮันเดลเรียนกฎหมายแต่ฮันเดลไม่ชอบแต่ดูเหมือนเขาไม่ชอบจึงเลือกทางที่ตัวเองชอบ
คือดนตรีฮันเดลสนใจดนตรีตั้งแต่เด็กเขาสามารถเล่นไวโอลิน ฮาร์ปสิคอร์ด โอโบ และออร์แกนได้เมื่ออายุได้เพียง 11 ปี

ถึงแม้พ่อของเขาจะไม่เต็มใจให้ลูกชายเรียนดนตรีแต่ก็ต้องจำใจส่งลูกไปเรียนดนตรีตามคำแนะนำของท่านดยุดผู้ที่เคารพนับถือ ดังนั้นเขาจึงได้เรียนออร์แกน และฮาร์ปสิคอร์ดกับครูดนตรีซึ่งเป็นนักออร์แกนที่มีชื่อเสียงมากที่สุดผู้หนึ่งชื่อฟริดริค วิลเฮล์ม ซาเคา (Friedrich Wilheim Zachow) เป็นนักออร์แกนประจำอยู่ที่ Liebfrauenkirche ในเมืองฮัลเล นอกจากออร์แกนและฮาร์ปสิคอร์ดแล้วฮันเดลยังได้เรียนเทคนิคการเล่นไวโอลิน โอโบ คลาเวียร์ ตลอดจนการประสานเสียงและเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) รวมทั้งแนวการแต่งเพลงเบื้องต้น แต่เครื่องดนตรีที่เขาเล่นได้ดีเป็นพิเศษคือฮาร์ปสิคอร์ด

ในปี ค.ศ. 1703 ฮันเดลเริ่มประพันธ์ อิตาเลียนโอเปร่า (Italian Operas) ตั้งแต่ปี 1706-1710
เขาอยู่ในอิตาลี ได้มีโอกาสคลุกคลีและใกล้ชิดกับบุคคลชั้นนำทางดนตรีของอิตาเลียนหลายคน เช่น โดเมนีโค สคาร์แลทตี (Domenico Scarlatti) นักเล่นฮาร์ปสิคอร์ดและอาร์แคนเจโล คอเรลลี (Arcangelo Corelli) นักไวโอลินจากการคลุกคลีใกล้ชิดทำให้ฮันเดลได้รับอิทธิพลของทำนองเพลงอิตาเลียน
(ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 : 152)

หลังกลับจากอิตาลีขณะนั้นฮัลเดลอายุย่าง 25 ปี ได้เดินทางไปรับตำแหน่งผู้อำนวยการ วงดนตรีของท่านผู้ครองนครแห่งแฮโนเวอร์ (Hanover) ฮัลเดลทำงานอย่างไม่มีความสุข จากนั้นจึงย้ายไปที่กรุงลอนดอนในปี 1710 ฮันเดลเปิดการแสดงอุปรากรเรื่อง Rinaldo ขึ้นที่โรงละคร Haymarket Theater ปรากฏว่าได้รับการต้อนรับจากชาวลอนดอนอย่างล้นหลาม

ขณะที่อยู่ในประเทศอังกฤษ ค.ศ. 1711-1715 นั้น เขาเป็นแขกของท่านลอร์ด เบอร์ลิงตัน (Lord Burlington) และพักที่คฤหาสน์ของท่าน พอถึงวันเฉลิมพระชนม์พรรษาของสมเด็จพระราชินีแอนน์
(Queen Anne) ฮันเดลก็ได้เปิดการแสดงดนตรีขึ้นเป็นการเฉลิมฉลองและเพื่อถวายพระพร ต่อมาพระราชินีแอนน์ ทรงโปรดเขามากพระนางได้พระราชทานเงินเป็นเบี้ยเลียงชีพให้แก่เขาปีละ 200 ปอนด์ หลังจากพระราชินีแอนน์เสด็จสวรรคต พระเจ้ายอร์จที่ 1 (King George I of England) ขึ้นครองราชย์แทนพระองค์ทรงโปรดดนตรีมากที่สุดและจ่ายเงินค่าเลี้ยงชีพให้เขาเป็น 2 เท่า หรือ ปีละ 400 ปอนด์

ตลอดชีวิตของฮันเดลไม่เคยแต่งงานเลย เขาอุทิศเวลาทั้งหมดให้แก่งานทางดนตรี เพลงของเขาที่แต่งขึ้นประกอบด้วย เพลงอุปรากรทั้งหมด 46 เรื่อง ออราทอริโอ 32 บท Italian Solo Cantatas 28 เพลง
Chamber duets 20 เพลงและเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ กว่า 100 เพลง

ในวัยชราฮันเดลตาบอดต้องอาศัยเพื่อนสนิทผู้หนึ่งเป็นผู้คอยช่วยเหลือทำทุก ๆ อย่าง แม้ตาจะบอดแต่เขาก็ไม่ทิ้งงานประพันธ์ดนตรีโดยอาศัยเพื่อนผู้นี้เป็นคนคอยจดตามที่ฮันเดลบอก เขาถึงแก่กรรมวันที่ 14 เมษายน 1759 อายุ 74 ปี ศพถูกฝังไว้ในวิหารเวสต์มันสเตอร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ  
http://www.sadetmusic.com

สมัยรีเนซองส์



คำว่า “Renaissance” แปลว่า “การเกิดใหม่”
(Re-birth) ซึ่งหมายถึงช่วงเวลาที่ปัญญาชนในยุโรปได้
หันความสนใจจากกิจการฝ่ายศาสนาที่ได้ปฏิบัติมาอย่างเคร่งครัดตลอดสมัยกลาง มาสู่การฟื้นฟูศิลปวิทยา
ซึ่งมีแนวความคิดอ่านและวัฒนธรรมตามแบบกรีก และโรมันโบราณ สมัยแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยานี้ ได้เริ่มขึ้นครั้งแรกตามหัวเมืองภาคเหนือของแหลมอิตาลี โดยได้เริ่มขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์

ก่อนแล้วจึงแพร่ไปยังเวนิช ปิสา เจนัว จนทั่วแคว้นทัสคานีและลอมบาร์ดี จากนั้นจึงแพร่ไปทั่วแหลมอิตาลีแล้วขยายตัวเข้าไปในฝรั่งเศส เยอรมนี เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และอังกฤษ
ลักษณะของดนตรีในสมัยนี้ยังคงมีรูปแบบคล้ายในสมัยศิลป์ใหม่ แต่ได้มีการปรับปรุงพัฒนารูปแบบมากขึ้น ลักษณะการสอดประสานทำนอง ยังคงเป็นลักษณะเด่น เพลงร้องยังคงนิยมกัน แต่เพลงบรรเลงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ในช่วงศตวรรษที่ 15 และ 16 รูปแบบของดนตรีมีความแตกต่างกันดังนี้ (ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535:89)

1. สมัยศตวรรษที่ 15
ประชาชนทั่วไปได้หลุดพ้นจากการปกครองระบอบศักดินา (Feudalism) มนุษยนิยม (Humanism) ได้กลายเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา ศิลปินผู้มีชื่อเสียง คือ ลอเร็นโซ กิแบร์ตี
โดนาเต็ลโล เลโอนาร์โด ดา วินชิ ฯลฯ เพลงมักจะมี 3 แนว โดยแนวบนสุดจะมีลักษณะน่าสนใจกว่าแนวอื่น ๆ เพลงที่ประกอบด้วยเสียง 4 แนว ในลักษณะของโซปราโน อัลโต เทเนอร์ เบส
 
เริ่มนิยมประพันธ์กันซึ่งเป็นรากฐานของการประสานเสียง 4 แนว ในสมัยต่อ ๆ มา เพลงโบสถ์จำพวก
แมสซึ่งพัฒนามาจากแชนท์มีการประพันธ์กันเช่นเดียวกับในสมัยกลาง เพลงโมเต็ตยังมีรูปแบบคล้ายสมัยศิลป์ใหม่ ในระยะนี้เพลงคฤหัสถ์เริ่มมีการสอดประสานเกิดขึ้น คือ เพลงประเภทซังซอง แบบสอดประสาน (Polyphonic chanson) ซึ่งมีแนวทำนองเด่น 1 แนว และมีแนวอื่นสอดประสานแบบล้อกัน (Imitative style) ซึ่งมีแนวโน้มเป็นลักษณะของการใส่เสียงประสาน (Homophony)

ลักษณะล้อกันแบบนี้เป็นลักษณะสำคัญของเพลงในสมัยนี้ นอกจากนี้มีการนำรูปแบบของโมเต็ตมาประพันธ์เป็นเพลงแมสและการนำหลักของแคนนอนมาใช้ในเพลงแมสด้วย

2. สมัยศตวรรษที่ 16
มนุษยนิยมยังคงเป็นลัทธิสำคัญทางปรัชญา การปฏิรูปทางศาสนาและการต่อต้านการปฏิรูปทางศาสนาของพวกคาทอลิกเป็นเหตุการณ์สำคัญยิ่งของคริสต์ศาสนาเพลงร้อง แบบสอดประสานทำนองพัฒนาจนมีความสมบูรณ์แบบเพลงร้องยังคงเป็นลักษณะเด่น แต่เพลงบรรเลงก็เริ่มนิยมกันมากขึ้น เพลงโบสถ์ยังมีอิทธิพลจากเพลงโบสถ์ของโรมัน แต่ก็มีเพลงโบสถ์ของนิกายโปรแตสแตนท์เกิดขึ้น การประสานเสียงเริ่มมีหลักเกณฑ์มากขึ้น การใช้การประสานเสียงสลับกับการล้อกันของทำนองเป็นลักษณะหนึ่งของเพลงในสมัยนี้ การแต่งเพลงแมสและโมเต็ต นำหลักของการล้อกันของทำนองมาใช้แต่เป็นแบบฟิวก์ (Fugue) ซึ่งพัฒนามาจากแคนนอน คือ การล้อของทำนองที่มีการแบ่ง
เป็นส่วน ๆ ที่สลับซับซ้อนมีหลักเกณฑ์มากขึ้นในสมัยนี้มีการปฏิวัติทางดนตรีเกิดขึ้นในเยอรมัน ซึ่งเป็นเรื่องของความขัดแย้ง
ทางศาสนากับพวกโรมันแคธอลิก จึงมีการแต่งเพลงขึ้นมาใหม่โดยใช้กฏเกณฑ์ใหม่ด้วยเพลงที่เกิดขึ้นมาใหม่เป็นเพลงสวดที่เรียกว่า “โคราล” (Chorale) ซึ่งเป็นเพลงที่นำมาจากแชนท์แต่ใส่อัตราจังหวะเข้าไป นอกจากนี้ยังเป็นเพลงที่นำมาจากเพลงคฤหัสถ์โดย ใส่เนื้อเป็นเรื่องศาสนาและเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่ด้วย เพลงในสมัยนี้เริ่มมีอัตราจังหวะแน่นอน เพลงคฤหัสถ์มีการพัฒนาทั้งใช้ผู้ร้องและการบรรเลง กล่าวได้ว่าดนตรีในศตวรรษนี้มีรูปแบบ ใหม่ ๆ เกิดขึ้นและหลักการต่าง ๆ มีแบบแผนมากขึ้น

ในสมัยนี้มนุษย์เริ่มเห็นความสำคัญของดนตรีมาก โดยถือว่าดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต นอกจากจะให้ดนตรีในศาสนาสืบเนื่องมาจากสมัยกลาง (Middle Ages) แล้วยังต้องการดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) เพื่อพักผ่อนในยามว่าง เพราะฉะนั้นในสมัยนี้ดนตรีของคฤหัสถ์ (Secular Music) และดนตรีศาสนา
(Sacred Music) มีความสำคัญเท่ากัน
สรุป ลักษณะบทเพลงในสมัยนี้
1. บทร้องใช้โพลีโฟนี (Polyphony) ส่วนใหญ่ใช้ 3-4 แนว ในศตวรรษที่ 16 ได้ชื่อว่า
“The Golden Age of Polyphony”
2. มีการพัฒนา Rhythm ในแบบ Duple time และ Triple time ขึ้น
3. การประสานเสียงใช้คู่ 3 ตลอด และเป็นสมัยสุดท้ายที่มีรูปแบบของขับร้องและบรรเลงเหมือนกัน
เครื่องดนตรี
- เครื่องดนตรีในสมัยนี้ที่นิยมใช้กันได้แก่ เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชัก
ได้แก่ ซอวิโอล (Viols) ขนาดต่าง ๆ ซอรีเบค (Rebec) ซึ่งตัวซอมีทรวดทรงคล้ายลูกแพร์เป็นเครื่องสายที่ใช้คันชัก ลูท เวอร์จินัล คลาวิคอร์ด ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ปี่ชอม ปี่คอร์เน็ต แตรทรัมเปต และแตรทรอมโบนโบราณ เป็นต้น

http://www.sadetmusic.com

สมัยกลาง



ดนตรีในสมัยกลางเป็นสิ่งที่ยากที่จะศึกษาเนื่องจากว่าดนตรีเหล่านั้นได้สูญหายไปหมดแล้ว เสียงตามท้องถนนของพ่อค้าเร่ เสียงร้องเพลงจากทุ่งหญ้าของกรรมกรผู้ใช้แรงงาน การเต้นรำในงานรื่นเริงต่าง ๆ การแสดงดนตรีบนเวที และแม้แต่บทเพลงจากกวีในภาคใต้ของฝรั่งเศส (ในศตวรรษที่ 11-13) ล้วนแล้วแต่มีอายุสั้น แม้แต่ดนตรีที่ยังเหลืออยู่ก็เป็นเพียงแฟชั่นเท่านั้น ซึ่งเหลือทิ้งไว้แต่คำถามที่ไม่มีคำตอบเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดของมัน
ประมาณ ค.ศ. 500 วัฒนธรรมตะวันตกเริ่มเปลี่ยนจากยุคมืด (The Dark Ages) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีการรวมตัวเป็นกลุ่มของ แวนดัล (Vandals, Huns) และ วิซิกอธ (Visigoths) เข้าไปทั่วยุโรป และนำไปสู่จุดจบของจักรวรรดิโรมัน เป็นเวลา 10 ศตวรรษต่อมา

สมัยกลางคือ ระยะเวลาจากคริสต์ศตวรรษที่ 5 จนถึงปลายศตวรรษที่ 14 (ค.ศ.450-1450) สมัยนี้เจริญสูงสุดเมื่อประมาณศตวรรษที่ 12-13 ศาสนามีอำนาจสูงมาก ทั้งด้านปัญญาและสปิริต ทำให้คนสามารถรวมกันได้ หลังจากนั้นก็เริ่มเสื่อมลงแล้วติดตามด้วยสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสหลังจากสงครามก็มีการแตกแยกเกิดขึ้น ในสมัยนี้เริ่มมีหลักฐานเกี่ยวกับเพลงคฤหัสถ์ (Secular music) ซึ่งเป็นเพลงขับร้องเพื่อความรื่นเริงได้รับความนิยมและแพร่หลายมาก ในประเทศต่าง ๆ ทางยุโรปตะวันตก นอกเหนือไปจากเพลงโบสถ์ (Church music) ซึ่งเพลงทั้งสองประเภทนี้มีลักษณะต่างกันคือเพลงโบสถ์ซึ่งมีหลักฐานมาก่อน มีลักษณะเป็นเพลงร้องเสียงเดียวมักไม่มีดนตรีประกอบไม่มีอัตราจังหวะ ร้องเป็นภาษาละตินมีช่วงกว้างของทำนองจำกัด บันทึกเป็นภาษาตัวโน้ตที่เรียกว่า Neumatic notation เพลงคฤหัสถ์หรือเพลงที่ชาวบ้านร้องเล่นกันนอกวัด มีลักษณะเป็นเพลงร้องเสียงเดียว ที่มักจะมีดนตรีเล่นประกอบเป็นเพลงที่มีอัตราจังหวะปกติมักเป็นในจังหวะ 3/4 มีจังหวะสม่ำเสมอเป็นรูปแบบซ้ำทวน ทำนองเป็นตอน ๆ มีตอนที่เล่นซ้ำ
ลักษณะที่กล่าวนี้เป็นลักษณะของเพลงในสมัยกลางตอนต้น ๆ ในระยะตอนปลายสมัยกลางคือราว ค.ศ. 1100-1400 นั้น ลักษณะของดนตรีเปลี่ยนแปลงพัฒนาไป ซึ่งมีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าสนใจ

ช่วงเวลาประมาณ 300 ปี ระหว่างคริสตศตวรรษที่ 12-14 ดนตรีในวัดมีรูปแบบเปลี่ยนไปจากตอนต้นของสมัยกลาง กล่าวคือ ในราวคริสตศตวรรษที่ 9 เป็นต้นมา เพลงแชนท์ ซึ่งรู้จักกันในนามของเกรเกอเลียน แชนท์
(Gregorian Chant) ได้รับการพัฒนามาเป็นรูปของการขับร้องแบบสอดประสานหรือ โพลีโฟนี (Polyphony) จนถึงคริสตศตวรรษที่ 13 ลักษณะของเพลงที่สำคัญในสมัยนี้ คือ ออร์แกนนั่ม (Organum) คือ การร้องในลักษณะของการร้องประสานเสียงสองแนว โดยใช้ระยะขั้นคู่เสียงคู่สี่เป็นหลักและเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกัน ระยะต่อมาการเคลื่อนที่เริ่มไม่จำกัดทิศทางและท้ายที่สุดมีออร์แกนนั่มแบบเสียงที่สอง (เสียงต่ำ) ร้องโน้ตยาว ๆ เพียง 1 ตัว ในขณะที่เสียงหนึ่ง (เสียงสูง) ร้องโน้ต 5-10 ตัวเนื่องจากออร์แกนนั่มเป็นเพลงที่พัฒนามาจากดนตรีในวัดหรือเพลงโบสถ์จึงเป็นเพลงที่ไม่มีอัตราจังหวะในระยะแรกต่อมาจึงเริ่มมีลักษณะของอัตราจังหวะ กล่าวได้ว่าในช่วงเวลานี้สิ่งสำคัญเกิดขึ้น คือการร้องแบบสองทำนองเริ่มเกิดขึ้นแล้วอย่างเด่นชัด เป็นลักษณะของการสอดประสานในสมัยกลางนี้ทางดนตรีแบ่งเป็นสมัยย่อย ๆ ได้สองสมัย คือ สมัยศิลป์เก่า (Ars Antiqua) และสมัยศิลป์ใหม่ (Ars Nova)
 

Top
สมัยศิลป์เก่า (Ars Antique)
ดนตรีในช่วงเวลาจากกลางศตวรรษที่ 12 ถึงปลายศตวรรษที่ 13 บางทีก็เป็นที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่า Ars Antique (The old Art) ซึ่งเป็นชื่อที่นักดนตรีรุ่นศตวรรษที่ 14 ตั้งชื่อย้อนหลังให้ ลักษณะของดนตรีในสมัยศิลป์เก่ามีลักษณะเป็นการสอดประสานแล้ว ซึ่งเรียกว่า ออร์แกนนั่มผู้นำ

คือ กลุ่มนอเตอร์ เดม (Notre Dame) นอกจากนี้ยังเกิดการประพันธ์ในลักษณะใหม่ขึ้นเรียกว่า โมเต็ต (Motet) คือ การนำทำนองจากเพลงแชนท์มาเป็นแนวเสียงต่ำหรือแนวเบส และเพิ่มเสียง 2 เสียงเข้าไปโดยเสียงที่เพิ่มมีจังหวะการเคลื่อนที่ของตัวโน้ตเร็วกว่าเสียงต่ำที่มีตัวโน้ตจังหวะยาวกว่า บางครั้งใช้เครื่องดนตรีเล่นแทนคนร้อง และมีเพลงอีกลักษณะหนึ่งเกิดขึ้น คือ คอนดุคตุส (Conductus)
คือ เพลงในลักษณะเดียวกับโมเต็ต แต่แนวเสียงต่ำแต่งขึ้นใหม่ มิได้นำมาจากทำนองของเพลงแชนท์แบบโมเต็ต ส่วนเนื้อหาของเพลงมีต่าง ๆ กันออก
ไปทั้งเกี่ยวกับศาสนา และเรื่องนอกวัด เช่น เรื่องการเมือง การเสียดสีสังคมเป็นต้น ลักษณะเด่นของ
สมัยนี้คือ เริ่มมีการแต่งเพลงสองแนวจนถึงสี่แนว ในบางครั้งเพลงเริ่มมีอัตราจังหวะ ปกติมักเป็น 3/4,6/8หรือ 9/8
ปรากฏให้เห็นผู้ประพันธ์เพลงที่ควรรู้จัก คือ เลโอนิน และเพโรตินซึ่งเป็นนักประพันธ์เพลงเกี่ยวกับศาสนา
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนักร้องที่เล่นเพลงพื้นบ้านหลายกลุ่ม ซึ่งมักจะร้องแบบแนวเสียงเดียว ได้แก่
กลุ่มที่เรียกตัวเองว่า “ทรูบาดูร์” (Troubadours) อยู่ในแคว้นโปรวังซ์ (Provence)
ทางตอนใต้ของฝรั่งเศส ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13
กลุ่มนี้ส่วนมากเป็นชนชั้นผู้ดีผู้มีอันจะกิน และ “ทรูแวร์”(Trouveres) อยู่ทางตอนเหนือของฝรั่งเศส
กลุ่มนี้เจริญขึ้นหลังจากกลุ่มทรูบะดูร์เล็กน้อย ส่วนในประเทศเยอรมันมีพวกมินเนซิงเกอร์ (Minnesingers)
เป็นผู้เผยแพร่เพลงขับร้องที่พรรณนาถึงความกล้าหาญของเหล่าอัศวินหรือรำพันถึงความรักที่หวานซึ้ง

 
 
สมัยศิลป์ใหม่ (Ars Nova)
Ars Nova แปลว่า The New Art เป็นชื่อที่ศิลปินในศตวรรษที่ 14 ตั้งขึ้นเพื่อเรียกดนตรีของพวกตน ซึ่งแตกต่างจากดนตรีในศตวรรษก่อนหลาย ๆ อย่างเช่น นิยมใช้จังหวะคู่ (Duple time) 2/4 มากกว่าอัตรา 3 จังหวะ 3/4 แบบเดิม และใช้กระสวนจังหวะใหม่ ๆ แทน เริ่มมีการประพันธ์เพลงในรูปใหม่ เช่น มาดริกาล (Madrigal) เป็นโพลีโฟนี (Polyphony) เพลงที่มีรูปแบบการซ้ำทวนของทำนองหนึ่งและจบลงอีกทำนองหนึ่ง เช่น AAB หรือ AAAB ประกอบด้วยแนวเสียง 2-3 แนว มีกำเนิดในประเทศอิตาลี เพลงโมเต็ต มีการเปลี่ยนรูปแบบ โดยแนวเสียงต่ำที่นำมาจากแชนท์มีการเปลี่ยนลักษณะของจังหวะไปไม่ใช่เป็นเพียงโน้ตจังหวะเท่ากัน ในอัตรายาว ๆ แบบโมเต็ตในสมัยศิลป์เก่า
Top 
เครื่องดนตรี
- เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้คันชัก ได้แก่ ซอวิแอล (Vielle) ขนาดต่าง ๆ ซอรีเบ็ค (Rebec)
ซึ่งตัวซอมีทรวดทรงคล้ายลูกแพร์ และซอทรอมบา มารินา (Tromba marina) ซึ่งเป็นซอ
ขนาดใหญ่ มีสายเพียงสายเดียวหรือถ้ามีสองสายก็เทียบเสียงระดับเดียวกัน (Unison) และผู้บรรเลงจะต้องยืนสีซอ

  
- เครื่องสายที่บรรเลงด้วยการใช้นิ้วดีด ได้แก่ ลิวต์ (Lute)

ภาพทูตสวรรค์กำลังบรรเลงเครื่องดนตรีต่าง ๆ
- เครื่องเป่า ได้แก่ ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder) ปี่ชอม (Shawm) แตรฮอร์นและทรัมเปตTop

ปี่ชอม

ขลุ่ยรีคอร์เดอร์
ประวัติผู้ประพันธ์เพลง
1. เลโอนิน (Leonin ประมาณ 1130-1180)
เป็นผู้ควบคุมวงขับร้องประสานเสียงของกลุ่มนอเตอร์ เดมณ กรุงปารีส เขารวบรวมเพลงออร์แกนนั่ม
ซึ่งเป็นเพลงโบสถ์ในพิธีต่าง ๆ ตลอดทั้งปีไว้ในหนังสือชื่อ “Great Book of Organum”
บางครั้งชื่อของเลโอนินเรียกเป็นภาษาละตินว่า “ลีโอนินัส”
2. เพโรติน (Perotin หรือ Perotinus Magnus ประมาณ 1160-1220)
เป็นผู้ควบคุมวงนักร้องประสานเสียงและผู้ประพันธ์เพลงของกลุ่มนอเตอร์ เดม ณ กรุงปารีส เป็นรุ่นน้องของเลโอนิน ทั้งคู่เป็นผู้บุกเบิกรูปแบบการประพันธ์เพลงแบบการสอดประสานทำนอง ทั้งเลโอนินและเพโรติน
เป็นผู้ประพันธ์เพลงในสมัยศิลป์เก่า ซึ่งเป็นแนวการประพันธ์แตกต่างจากสมัยศิลป์ใหม่
3. จาคาโป ดา โบโลนญา (Jacapo da Bologna)
เป็นผู้ประพันธ์เพลงที่สร้างรูปแบบให้กับสมัยศิลป์ใหม่คนสำคัญคนหนึ่ง ในช่วงที่เขาอยู่ในกรุงมิลานได้ผลิต
ผลงานมากมาย ได้แก่ เพลงมาดริกาล 30 บท คาทชา (Caccia) 1 บท และโมเต็ต 1 บท
นอกจานี้ยังประพันธ์เพลงลาอูเด (Laude) ซึ่งเป็นเพลงสำคัญของชาวอิตาเลียนแบบหนึ่ง จาคาโปเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่พยายามพัฒนารูปแบบของเพลงแบบการสอดประสานทำนองคนสำคัญของอิตาลี ผลงานของจาคาโปมีจุดเด่นที่แนวทำนองที่เด่นชัดแสดงออกถึงจินตนาการ การใช้จังหวะในลักษณะต่าง ๆและการเคลื่อนที่ไปของแนวเสียงต่าง ๆ ที่ไม่ขึ้นแก่กันในลักษณะของความกลมกลืน
4. แลนดินี (Francesco Landini ประมาณ 1325-1397)
ผู้ประพันธ์เพลงและนักออร์แกนเป็นบุตรของจิตรกร แลนดินีตาบอดมาตั้งแต่เด็กจึงหันมาศึกษาดนตรีมีชื่อเสียงในฐานะ นักออร์แกนที่สามารถเล่นได้อย่างไพเราะเต็มไปด้วยเทคนิคซึ่งสร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังทั่วไป แนวการประพันธ์ของแลนดินีมีลักษณะของความเป็นตัวของตัวเองมาก การถ่ายทอดอารมณ์ในเพลงมีมากกว่าผู้ประพันธ์เพลงสมัยก่อนหน้าเขา บทเพลงร้องหลายแนว ประเภทเพลงคฤหัสถ์มีชื่อเสียงและเป็นต้นกำเนิดของเพลงมาดริกาลของสมัยศิลป์ใหม่
แลนดินีจัดเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่มีผลงานมากมาย หนึ่งในสามของบทเพลงที่ผู้ประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียนประพันธ์ไว้
้ในสมัยนี้เป็นบทประพันธ์เพลงของแลนดินี
5. มาโชท์ (Guillaume de Machaut, ประมาณ 1300-1377)
ผู้ประพันธ์เพลงสำคัญในสมัยศิลป์ใหม่ มาโชท์เป็นพระชาวฝรั่งเศส เพลงที่ประพันธ์ส่วนใหญ่จึงเป็นเพลงโบสถ์
โดยเฉพาะเพลงแมสของมาโชท มีชื่อเสียงมาก นอกจากนี้มาโชท์ยังมีผลงานเพลงคฤหัสถ์จำนวนหนึ่งด้วย
ผลงานของมาโชท์เต็มไปด้วยความประณีตในการใช้รูปแบบของการสอดประสานทำนอง
(ณรุทธ์ สุทธ์จิตต์,2535 :136-140)

Top 


http://www.sadetmusic.com

  สมัยคลาสสิก


ตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 มาจนถึงช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 นับได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนส่วนใหญ่ในยุโรปมีความตื่นตัวในเรื่องประชาธิปไตยเหตุการณ์ที่ได้กระตุ้นเรื่องนี้เป็นอย่างมากก็คือการปฏิวัติครั้งใหญ่ในฝรั่งเศสซึ่งเริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1879 การรบครั้งสำคัญในสมัยนี้คือ สงครามเจ็ดปี (ค.ศ.1756-1763) สงครามฝรั่งเศสและอินเดีย

ในอเมริกาเกิดสงครามระหว่างอังกฤษและอาณานิคมอเมริกัน ซึ่งนำไปสู่การประกาศอิสรภาพ ของอเมริกันในปี 1776 และสงครามนโปเลียนใน ยุโรป ซึ่งเป็นผลให้เกิดคองเกรสแห่งเวียนนาขึ้นในปี ค.ศ. 1814
สมัยนี้ในทางปรัชญาเรียนกว่า “ยุคแห่งเหตุผล” Age of Reason
(ไขแสง ศุขวัฒนะ,2535:102)

หลังการตายของ เจ.เอส.บาค (J. S. Bach) ในปี 1750 ก็ไม่มีผู้ประสบความสำเร็จในรูป
แบบของดนตรีแบบบาโรก (Baroque style) อีก มีการเริ่มของ The (high) Classical era ในปี 1780
เราเรียกช่วงเวลาหลังจากการตายของ เจ.เอส.บาค (J. S. Bach1730-1780) ว่า The early
classical period ดนตรีในสมัยบาโรกนั้นมีรูปพรรณ (Texture) ที่ยุ่งยากซับซ้อนส่วนดนตรีในสมัย
คลาสสิกมีลักษณะเฉพาะคือมี โครงสร้าง (Structure) ที่ชัดเจนขึ้น การค้นหาความอิสระในด้าน
วิชาการ เป็นหลักสำคัญที่ทำให้เกิดสมัยใหม่นี้

ลักษณะของดนตรีในสมัยคลาสสิกที่เปลี่ยนไปจากสมัยบาโรกที่เห็นได้ชัด คือ การไม่นิยม
การสอดประสานของทำนองที่เรียกว่าเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) หันมานิยมการเน้นทำนอง
หลักเพียงทำนองเดียวโดยมีแนวเสียงอื่นประสานให้ทำนองไพเราะขึ้น คือการใส่เสียงประสาน
ลักษณะของบาสโซ คอนตินูโอเลิกใช้ไปพร้อม ๆ กับการสร้างสรรค์แบบอิมโพรไวเซชั่น
(Improvisation) ผู้ประพันธ์นิยมเขียนโน้ตทุกแนวไว้ ไม่มีการปล่อยว่างให้ผู้บรรเลงแต่งเติมเอง ลักษณะของบทเพลงก็เปลี่ยนไปเช่นกัน

ศูนย์กลางของสมัยคลาสสิกตอนต้นคือเมืองแมนฮีมและกรุงเวียนนาโรงเรียนแมนฮีมจัดตั้ง
ขึ้นโดย Johann Stamitz ซึ่งเป็นนักไวโอลิน และเป็นผู้ควบคุม Concert ของ The Mannheim
orchestra เขาเป็นผู้พัฒนาสไตล์ใหม่ของการประพันธ์ดนตรี (Composition) และ การเรียบเรียงสำหรับวงออร์เคสตรา (Orchestration)
และยังพัฒนา The sonata principle in 1st movement of symphonies, second theme of Stamitz ตรงกันข้ามกับ 1st theme ซึ่ง Dramatic, striking หรือ Incisive (เชือดเฉือน) เขามักเพิ่มการแสดงออกที่เป็นท่วงทำนองเพลงนำไปสู่บทเพลงใน
ซิมโฟนี การเปลี่ยนความดัง - ค่อย (Dynamic) อย่างฉับพลันในช่วงสั้น ๆ ได้รับการแสดงครั้งแรกโดย Manheim orchestra เขายังขยาย Movement scheme of symphony จากเร็ว-ช้า-เร็ว เป็น เร็ว – ช้า – minuet – เร็ว
(minuet คือดนตรีบรรเลงเพื่อการเต้นรำคู่ในจังหวะช้า 3 จังหวะ )
ใช้ครั้งแรกโดย GM Monn แบบแผนนี้กลายเป็นมาตรฐานในซิมโฟนีและ สตริงควอเตท (String quartet )

สมัยคลาสสิกนี้จัดได้ว่าเป็นสมัยที่มีการสร้างกฎเกณฑ์รูปแบบในทุก ๆ อย่างเกี่ยวกับการ
ประพันธ์เพลงซึ่งในสมัยต่อ ๆ มาได้นำรูปแบบในสมัยนี้มาใช้และพัฒนาให้ลึกซึ้งหรือแปรเปลี่ยนไป
เพลงในสมัยนี้เป็นดนตรีบริสุทธิ์ส่วนใหญ่ กล่าวคือ เพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาเป็นเพลงซึ่งแสดงออกถึงลักษณะของดนตรีแท้ ๆ มิได้มีลักษณะเป็นเพลงเพื่อบรรยายถึงเหตุการณ์หรือเรื่องราวใด ๆ ซึ่งเป็นลักษณะที่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีการใส่หรือแสดงอารมณ์ของ
ผู้ประพันธ์ลงในบทเพลงมากนัก ลักษณะของเสียงที่ดัง - ค่อย ค่อย ๆ ดัง และค่อย ๆ เบาลง

ดนตรีสไตล์เบา ๆ และสง่างามของโรโคโค (Rococo Period ) ซึ่งตรงข้ามกับสไตล์ที่เคร่ง
เครียดในสมัยบาโรก โดยปกติมันเป็น Lightly accompanied pleasing music ด้วย Phrasing ที่สมดุลย์กัน
(JC Bach, Sammartini, Hasse, Pergolesi ) Galant เหมือนกับ โรโคโค (Rococo Period ) ในแนวคิดของ
Heavy ornamentation แต่ต่างกันตรงที่ลักษณะดนตรีมีโครงสร้างและประโยคเพลงที่มีแบบแผนและรูปแบบที่มีความอ่อนไหวง่าย พยายามแสดงออกถึงความรู้สึกที่แท้จริงและเป็นธรรมชาติ แทรกความโรแมนติกของศตวรรษที่ 19 เข้าไป จุดหมายเพื่อแสดงความเป็นตัวของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งดนตรีของ CPE Bach และ WF Bach ด้วย
ความหมายของคำว่า “คลาสสิกซิสซึ่ม” (Classicism)
Top
คำว่า “คลาสสิก” (Classical) ในทางดนตรีนั้น มีความหมายไปในทางเดียวกันกับความ
หมายของอุดมคติของลัทธิ Apollonian ในสมัยของกรีกโบราณ โดยจะมีความหมายที่มีแนวคิดเป็นไปในลักษณะของความนึกถึงแต่สิ่งที่เป็นภายนอกกาย สภาพการเหนี่ยวรั้งทางอารมณ์ ความแจ่มแจ้งในเรื่องของรูปแบบ และการผูกติดอยู่กับหลักทางโครงสร้างอย่างใดอย่างหนึ่ง อุดมคติทางคลาสสิกในทางดนตรีนั้นมิได้จำกัดอยู่แต่ในช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 เท่านั้น อุดมคติ
ทางคลาสสิกดังกล่าว ยังเคยมีปรากฏมาก่อนในช่วงสมัยอาร์สอันติควา (Ars Antiqua) และมีเกิดขึ้นให้พบเห็นอีกในบางส่วนของงานประพันธ์การดนตรีในศตวรรษที่ 20

พวกคลาสสิกนิยม (Classicism) ก็มีในดนตรีในช่วงตอนปลาย ๆ ของสมัยบาโรก ซึ่งเป็น
ดนตรีสไตล์ของบาค (J.S. Bach) และของฮัลเดล (Handel) เช่นกัน ในช่วงของความเป็นคลาสสิกนิยมนั้นมี 2 ช่วง คือ ในตอนต้นและใช้ช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 และในช่วงตอนปลายของศตวรรษที่ 18 มักจะเรียกกันโดยทั่ว ๆ ไปว่า เป็นสมัยเวียนนิสคลาสสิก (Viennese Classical Period) เพื่อให้ง่ายต่อการระบุความแตกต่างระหว่างคลาสสิกตอนต้นและตอนปลายนั้นเอง และที่เรียกว่าเป็นสมัยเวียนนิสคลาสสิก ก็เพราะเหตุว่าช่วงเวลานั้นกรุงเวียนนาของออสเตรียถูกถือว่าเป็นเมืองศูนย์กลางหลักของการดนตรีในสมัยนั้น ลักษณะทั่ว ๆ ไปของการดนตรีในสมัยคลาสสิก
โดยทั่วไปแล้วดนตรีคลาสสิกสามารถตีความหมายออกมาได้ คือ มองออกจากตัว
(Objective) แสดงถึงการเหนี่ยวรั้งจิตใจทางอารมณ์ สละสลวย การขัดเกลาให้งดงามไพเราะ และสัมผัสที่ไม่ต้องการความลึกล้ำนัก นอกจากความหมายดังกล่าวแล้วคลาสสิกยังมีความหมาย ที่อาจกล่าวไปในเรื่องของประมวลผลงานก็ได้ กล่าวคือ ผลงานทางดนตรี บทบรรเลงที่เห็นได้ชัดว่ามีมากขึ้นกว่าผลงานทางการประพันธ์โอเปร่าและฟอร์มอื่น ๆ สรุปลักษณะสำคัญของดนตรีสมัยคลาสสิก (ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535 :105) 1. ฟอร์ม หรือคีตลักษณ์ (Forms) มีโครงสร้างที่ชัดเจนแน่นอน และยึดถือปฏิบัติมาเป็น
ธรรมเนียมนิยมอย่างเคร่งครัดเห็นได้จากฟอร์มโซนาตาที่เกิดขึ้นในสมัยคลาสสิก
2. สไตล์ทำนอง (Melodic Style) ได้มีการพัฒนาทำนองชนิดใหม่ขึ้นมีลักษณะที่เป็นตัวของตัวเองและรัดกุมกะทัดรัดมากขึ้น มีความแจ่มแจ้งและความเรียบง่ายซึ่งมักจะทำตามกันมา สไตล์ทำนองลักษณะนี้ได้เข้ามาแทนที่ทำนองที่มีลักษณะยาว ซึ่งมีสไตล์ใช้กลุ่มจังหวะตัวโน้ตในการสร้างทำนอง (Figuration Style) ซึ่งนิยมกันมาก่อนในสมัยบาโรก ในดนตรีแบบ Polyphony
3. สไตล์แบบโฮโมโฟนิค (Homophonic Style) ความสำคัญอันใหม่ที่เกิดขึ้นแนวทำนองพิเศษในการประกอบทำนองหลัก (Theme) ก็คือลักษณะพื้นผิวที่ได้รับความนิยมมากกว่าสไตล์พื้นผิวแบบโพลี่โฟนีเดิม สิ่งพิเศษของลักษณะดังกล่าวนั่นก็คือ Alberti bass ซึ่งก็คือลักษณะการบรรเลงคลอประกอบแบบ Broken Chord ชนิดพิเศษ

ที่มา: ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535 :106

4. ในด้านการประสานเสียง (Harmony) นั้น การประสานเสียงของดนตรีสมัยนี้ซับซ้อน
น้อยกว่าการประสานเสียงของดนตรีสมัยบาโรก ได้มีการใช้ตรัยแอ็คคอร์ด ซึ่งหมายถึง คอร์ด โทนิด (I) ดอมินันท์ (V) และ ซับโดมินันท์ (IV)มากยิ่งขึ้น และการประสานเสียงแบบเดียโทนิค (Diatonic harmony) ได้รับความนิยมมากกว่าการประสานเสียงแบบโครมาติค (Chromatic harmony)
5. เคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ในสมัยคลาสสิกยังคงมีการใช้อยู่โดยเฉพาะในท่อน
พัฒนาของฟอร์มโซนาตาในท่อนใหญ่ การประพันธ์ดนตรีที่ใช้ฟอร์มทางเคาน์เตอร์พอยท์ (Counterpoint) ซึ่งเป็นฟอร์มที่มี Counterpoint เป็นวัตถุดิบสำคัญ โดยทั่ว ๆ ไปจะไม่มีอีกแล้วในสมัยนี้
6. การใช้ความดัง - เบา (Dynamics) ได้มีการนำเอาเอฟเฟคของความดัง – เบา มาใช้สร้างเป็นองค์ประกอบของดนตรี ดังเห็นได้จากงานการประพันธ์ของนักประพันธ์หลาย ๆ คน ซึ่งความดัง - เบานั้นมีทั้งการทำเอฟเฟคจากเบาแล้วค่อยเพิ่มความดังขึ้นเรื่อย ๆ เรียกว่าเครสเซนโด (Crescendo) และ จากดังแล้วก็ค่อย ๆ ลดลงจนเบาเรียกว่าดิมินูเอ็นโด (Diminuendo)

Top

ประวัติผู้ประพันธ์เพลง ในสมัยคลาสสิกได้มีผลงานซึ่งเป็นทั้งชีวิตและงานของนักประพันธ์สำคัญ
ชั้นนำและเป็นที่รู้จักจนถึงปัจจุบัน 4 ท่าน คือ
1. คริสโตฟ วิลลิบาล์ด กลุด (Christoph Willibald Gluck 1714-1798)
เกิดเมื่อ วันที่ 2 กรกฎาคม 1714 ที่เมืองอีราสบาค (Erasbach) ใกล้กับเมืองไวเดนแวง (Weidenwang) ถึงแก่กรรมที่กรุงเวียนนา วันที่ 15 พฤศจิกายน 1787 เขาเกิดในบาวาเรีย จากบ้านตั้งแต่อายุ 14 ปี และอยู่ที่กรุงปร๊าคหลายปี เขาเดินทางและเรียนดนตรีในเวียนนาและอิตาลี เขาเริ่มคุ้นเคยกับสไตล์ของ Baroque opera และประพันธ์ หลายโอเปร่าในสไตล์ที่มีอยู่ทั่วไป
ระหว่างปี1745 – 1760 เขาเดินทางทั่วยุโรปเพื่อสำรวจโอเปร่าในขณะนั้น ด้วยความเป็นนักทฤษฎีพอ ๆ กับความเป็นนักประพันธ์ ในปี 1761เขาเห็นว่าสิ่งสำคัญในบัลเล่ต์ (Ballet)และโอเปร่า (Opera) ควร
เป็นเรื่องราวและอารมณ์ของผู้แสดงไม่ใช่กลอุบายในการกระตุ้นความสนใจด้วยเล่ห์ ความโดดเด่นที่ผิด ๆ และเค้าโครงเรื่องประกอบมากมายซึ่งเป็นในแง่การค้าของสมัยบาโรก เขาตั้งใจแต่งโอเปร่าในปลายศตวรรษที่ 18 โดยยกเลิก Vocal virtuosity และทำให้เกิดดนตรีที่สนองความต้องการของการละคร (Drama) งานชิ้นแรกของเขาได้แก่โอเปร่า ที่เป็นที่นิยมที่สุดคือ Premiered in Vienna ในปี 1762 ซึ่งเป็นพื้นฐานของ ศิลปะแบบคลาสสิกของกรีก โดย Orpheus ( เทพเจ้าออฟีอูส เป็นนักดนตรียิ่งใหญ่ที่สุดในเทพนิยายโบราณ กล่าวถึงการสูญเสียภรรยาสุดที่รักของเขาแก่โลกใต้พิภพ ) สาธารณะชนในเวียนนายังไม่ได้ยอมรับผลงานของเขาในขณะนั้นจนกระทั่งปี 1770 เขาย้ายไปปารีสตามคำขอร้องของเจ้าหญิงมารี อังตัวเนตต์ ( Marie Antoinette) ซึ่งเขาได้ประสบความสำเร็จกับโอเปร่าของเขา Orfeo and Eurydice, Alceste ในปี 1774 และ Iphigenie en Tauride ในปี 1779 ซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และเป็นงานที่แข่งขันกันระหว่างกลุดกับพิชชินนี (Piccini 1728 –1800 ) ได้นำออกแสดงผลัดกันคนละหนเพื่อพิสูจน์ความดีเด่นกัน ในที่สุดกลุดก็ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม พิชชินนีก็ยอมรับว่างานของกลุดชิ้นนี้ดีเยี่ยมจริง ๆ ทำให้สังคมส่วนรวมเกี่ยวกับโอเปร่าและนักวิจารณ์ยอมรับเขามากขึ้นซึ่งงานของเขาเป็นที่นิยมมากในปารีสขณะนั้น ด้วยการแต่งโอเปร่าครั้งสุดท้ายของเขาในปี 1779 เขาไปที่เวียนนาที่ซึ่งเขาถูกเชิญให้เป็นนักประพันธ์ของราชสำนักของจักรพรรดิ์โจเซฟที่ 2 เขาตายในปี 1787 ถึงแม้ว่าแนวดนตรีของเขาจะจบลงเมื่อเขาตาย แต่ Operatic reform ของเขาได้เป็นแบบอย่างแก่นักประพันธ์รุ่นหลังต่อมาและมีอิทธิพลต่องานแสดงดนตรีบนเวทีของ Mozart, Berliozและ Wagner
(ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์,2535 : 100)
2. ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิน (Franz joseph Haydn 1732-1809) Top
ผู้ประพันธ์เพลงยิ่งใหญ่เกิดที่หมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งชื่อโรห์เรา (Rohrau) อยู่ในภาคใต้ของออสเตรีย
เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ.1732 ถึงแก่กรรมที่กรุงเวียนนาเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 1809เขาเป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 12 คนของครอบครัวชาวนายากจนที่รักดนตรี เมื่อเขาอายุได้ 8 ปี เขาได้เป็นนักร้องในวงประสานเสียงของโบสถ์เซนต์ สติเฟน ( St Stephen) แห่งเวียนนา หลังจากอยู่ที่นั่น 9 ปีในปี 1749 เขาออกจากที่นั่นเพราะเสียงแตก
เขาไม่มีเงินไม่มีบ้านเขาเลี้ยงชีพด้วยการร้องเพลง เล่นฮาร์ปสิคอร์ด (Harpsichord) และสอนดนตรี ตลอดเวลาเขาฝึกหัดและเรียนดนตรีอย่างต่อเนื่องเขาเริ่มแต่งเพลงและได้เป็นผู้นำวงออร์เคสตราของเคานต์ มอร์ซิน (Count Morzin of Bohemia) ซิมโฟนีชิ้นแรกของเขานำไปสู่การรับรองในปี 1761 ต่อจากนั้นไฮเดินก็ต้องออกมา
อยู่กับเจ้าชายปอล แอนตัน อีสเตอร์ฮาซี่ (Prince Paul anton Esterhazy) เขาทำงานกับ ตระกูลอีสเตอร์ฮาซี่เป็นเวลา 30 ปี โดยความเป็นจริงเป็นเหมือนคนรับใช้ แต่ถึงอย่างไรก็ดี เขาได้ประพันธ์ซิมโฟนี โอเปร่าและเชมเบอร์ มิวสิกเป็นจำนวนมากเขามีชื่อเสียงมากในยุโรปด้านดนตรี เขาพบ Mozart ตอนเด็ก ๆ ในปี 1781 และกลายเป็นเพื่อนสนิทกันและชื่นชมในดนตรีของกันและกันมาก เมื่อเจ้าชาย นิโคลาส ‘The Magnificent’ แห่งตระกูลอิสเตอร์ฮาซีได้สิ้นพระชนม์ลงในปี 1790 เขาถูกปลดออกโดยผู้รับตำแหน่งต่อเขาได้รับเงินบำนาญและรายได้เข้าจากสาธารณะชนและนักเรียนของเขา จากนั้นย้ายกลับเวียนนาและถูกเชิญไปลอนดอนโดย เจ.พี. ซาโลมอน (J.P. Salomon) เพื่อไปจัดแสดงคอนเสิร์ต ในระหว่างการเดินทางนี้เป็นการเดินทางไปอังกฤษครั้งที่ 2 โดยตกลงจะประพันธ์เพลงให้ 12 เพลง คือชุด London symphonies เพลงสุดท้าย เขาถูกเชิญให้ประพันธ์ ออราทอริโอ (Oratorio) ในสไตล์ของไฮเดิล (Handel) เขาประพันธ์ได้ 2 เรื่องและดนตรีของเขาเปลี่ยน the majesty of the Baroque ไปเป็นการเริ่มต้นของศตวรรษที่ 19 โดย Choruses เช่น The Heavens are Telling from The Creation แสดงครั้งแรกในปี1798 ปัจจุบันรู้จักในชื่อว่า The father of the Symphony and the String quartet ที่จริงแล้วเขาไม่ได้คิดค้นมันขึ้นเองทั้ง 2 เรื่องแต่ได้พัฒนามันจากรูปแบบที่มีอยู่ก่อนแล้วทั่วยุโรป ไฮเดิลประพันธ์ Sonatas, quartets, symphonies, operas,concertos เป็นจำนวนหลายร้อย ดนตรีของเขาดูง่ายมีเสน่ห์มีการต่อสู้ของแฟนซีและตลกที่แท้จริงผสมอยู่ใน Classical veneer ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงมากที่สุดได้แก่ The Surprise ในท่อน (movement) ที่ 2 ของซิมโฟนีของเขา No. 94 in G major แต่การทำตามความคิดของเขาจะพบได้ใน The finale of the Symphony no. 82 หรือเรียกอีกชื่อว่า The bear เป็น The bass drone และ Chortling bassoons ซึ่งเป็นเรื่องของหมีที่เต้นรำ
เมื่อถึงฤดูใบไม้ผลิในปี 1809 กองทัพฝรั่งเศสภายใต้การนำของนโปเลียน ยกทัพเข้ายึดครองเวียนนา ออสเตรียไว้ได้ เขาเศร้าเสียใจมากกับการเสื่อมอย่างรวดเร็วและได้ถึงแก่กรรมด้วยอาการสงบในวันที่ 31 พฤษภาคม 1809 ทหารฝรั่งเศสที่กำลังยึดครองเวียนนาอยู่ขณะนั้นได้ทำพิธีฝังศพให้แก่เขาอย่างสมเกียรติ ณ โบสถ์แห่งหนึ่งในเวียนนา
3. โมสาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart 1756-1791) Top  
ผู้ประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่อีกผู้หนึ่งในสมัยคลาสสิกเป็นชาว ออสเตรีย กำเนิดในครอบครัวนักดนตรี เมืองซาลส์บวร์ก(Salzbutrg) เกิดเมื่อวันที่ 27 มกราคม ค.ศ.1756 ถึงแก่กรรมที่ เวียนนา วันที่ 5 ธันวาคม ค.ศ.1791 และมีชื่อเสียงในงานประพันธ์ดนตรีประเภทซิมโฟนีเชมเบอร์ มิวสิกและโอเปร่าเมื่อเขาอายุ 4 ปี เขาสามารถเรียนดนตรีได้ครั้งละครึ่งชั่วโมงเมื่ออายุ 5 ปี เขาสามารถเล่นคลาเวียร์ ได้ดีอย่างไม่น่าเชื่อ เขาเขียนซิมโฟนีชิ้นแรกเมื่อเขาอายุ 8 ปี เขาเดินทางทั่วยุโรปกับพ่อของเขาชื่อ เลโอโปลด์ โมสาร์ท (Leopard Mozart 1719 –1787) ซึ่งเป็นนักไวโอลิน และบางครั้งเป็นนักประพันธ์เพลงและเป็นผู้กำกับนักร้องประสานเสียงหรือวงออร์เคสตรา
ในราชสำนักของ อาร์ชบิชอพที่ซาลส์บวร์ก(Archbishop of Salzburg) ทักษะทางคนตรีของเขาได้ปรากฏต่อ
ราชสำนักครั้งแรกที่เมืองมิวนิคในปี1762 และปรากฏต่อสาธารณะชนในระหว่างอายุ 7ถึง 15 ปี เขาใช้เวลาครึ่งหนึ่งในชีวิตในการเดินทางท่องเที่ยวไปเขาจึงซึมซับและเรียนรู้สำนวนดนตรีของยุโรปอย่างหลากหลาย สะสมจนเป็นสไตล์ของตัวเอง

ในปี 1777 เขาท่องเที่ยวไปกับมารดาของเขาที่เมืองมิวสิค แมนเฮม
และปารีส และที่ ปารีส มารดาของเขาได้ถึงแก่กรรมอย่างกะทันหันในเดือนมกราคม 1778 เขาตกงาน จึงกลับไปที่บ้านเกิดในปี1779
และได้เป็นนักออร์แกนของราชสำนักอาร์ชบิชอพ ที่ซาลส์บวร์ก (Archship of Salzburg)และถูก ปลดออกในปี 1781 หลังจากนั้นเขากลายเป็นนักดนตรีอิสระคนแรกในประวัติศาสตร์ที่ดำเนินชีวิต
โดยไม่ขึ้นกับราชสำนักหรือโบสถ์หรือผู้อุปถัมถ์ใด ๆ เขาย้ายไปที่เวียนนาและได้อยู่กับครอบครัว เวเบอร์ (The Webers) ซึ่งเป็นครอบครัวที่เขาพบในปี 1777 เขาแต่งงานกับคอนสตันซ์ เวเบอร์
(Constanze Weber) ในเดือนสิงหาคม 1782 หลังจากนั้นไม่นานทุกอย่างเริ่มดีขึ้น ในปี 1782
 
เริ่มด้วยผลงาน The Singspiel Die Entfuhrung ans dem Serail (The Abduction from the Seraglio)
โมสาร์ทอาจจะเป็นนักประพันธ์คนเดียวในประวัติศาสตร์ที่เขียนเพลงอย่างประณีตทุกรูปแบบของดนตรีตลอดชีวิตของเขา ผลงาน
ประเภทเซเรเนด (Serenades), Divertimenti,Dances ที่เขาเขียนขึ้นเพื่อความบันเทิงและงานปาร์ตี้ของขุนนาง ล้วนเป็นความยิ่งใหญ่ของสมัยคลาสสิก (Classical age of elegance)และถูกดัดแปลงโดยนักประพันธ์ชื่อ Eine Kleine Nachtmusik เป็น Serenade in G major

ในเวียนนาเขาเป็นคนสำคัญในราชสำนักของจักรพรรดิ์โจเซฟที่ 2 (Joseph1741 – 1790) ที่ซึ่งเขาได้เขียนดนตรีที่ยิ่งใหญ่มากมาย
ตัวอย่างเช่น The last string quartets, The string quintets, The quintet for clarinet and strings, The mass in C major, Requiem (ซึ่งเขาเขียนยังไม่เสร็จ), The Serenade for thirteen wind instruments, The Clarinet connect, และ The late piano concerto นอกจากนี้ Piano concerto ของเขายังคงมีรูปแบบของ The classic concerto form เขาปรับปรุงพัฒนามาเป็นงานของ Symphonic breadth and scope, Concerto ของเขามักเริ่มต้นด้วยรูปแบบโซนาตาในท่อนที่ 1 ตามด้วยท่อนที่ 2 ที่นุ่มนวลและเป็นทำนองเพลงโดยปกติมีเพลงที่มีชีวิตชีวารวมอยู่ด้วยพร้อมทั้งมี รอนโด (Rondo) หมายถึงเพลงที่บรรเลงโดยการย้อน ที่ดึงดูดความสนใจ เช่น The piano concerto no.22 in E flat ในซิมโฟนี 3 ชิ้นสุดท้าย ชิ้นที่ 2 คือ Symphony no.40 in G minor เขาได้ใส่ passion และการแสดงออกซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในการเขียนซิมโฟนีจนกระทั่งถึงสมัยของ เบโธเฟน (Beethoven)

งานด้านอุปรากรนั้นในปี ค.ศ. 1786 โมสาร์ทได้ร่วมมือกับลอเรนโซ ดา พอนเต้ (Lorenzo
Da Ponte) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญประจำโรงละครหลวงในกรุงเวียนนาเขียน The marriage of Figaro
ขึ้น อุปรากรเรื่องนี้เมื่อแสดงครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จดังที่ตั้งใจไว้แต่ต่อมามีคนนำไปแสดงที่
กรุงปร๊าค นครหลวงของโบเฮเมีย ประเทศเชคโกสโลวาเกีย ได้รับความสำเร็จอย่างงดงาม ค.ศ. 1787
เขียนอุปรากรเรื่อง ดอน โจวันนี (Don Giovanni) ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการผจญภัยของชายหนุ่มนัก
รักที่ชื่อว่า ดอน จิโอวันนี หรือดอน ฮวน (Don Juan) ได้สำเร็จ

ในระหว่างที่เขาอยู่ที่เวียนนาได้เป็นเพื่อนสนิทกับไฮเดิล (Franz Joseph Haydn) ซึ่งมีอิทธิพลต่อผลงานของเขาในระหว่างปี 1782 – 1785 โมสาร์ท (Mozart) ได้ประพันธ์ Six string quartets ซึ่งอุทิศให้ ไฮเดิล บางส่วนเขาทั้งสองเล่นด้วยกัน

ด้วยการจัดการการเงินที่ผิดพลาดและด้วยความไม่มีประสบการณ์ชีวิตขาดการไตร่ตรอง
และความประพฤติที่เหมือนเด็กที่ปีกกล้าขาแข็งและใช้ชีวิตอย่างเจ้านายทำให้เขาตกระกำลำบาก
ในการดำเนินชีวิตภายในปี 1790 เขาได้เขียนจดหมายถึงเพื่อนหลายคนบรรยายถึงเขาและครอบครัว
( เขาและภรรยามีลูกด้วยกัน 6 คน มีชีวิตรอดอยู่เพียง 2 คน ) ความลำบากจนต้องขอ ทานเพื่อยังชีพ และในระหว่างนี้เอง เขาก็ป่วยหนักด้วยโรคไตแต่ด้วยความสำเร็จของ The Magic Flute เขาได้รับเงินจ่ายประจำปี เขาจึงเริ่มต้นมีความมั่นคงทางการเงินอีกครั้งในขณะที่โรคของเขานำเขาไปสู่ความตายเมื่อเขาอายุได้ 36 ปี เขาถูกฝังเหมือนชาวเวียนนาทั่วไปโดยคำบัญชาของจักรพรรดิ์โจเซฟในหลุมศพสามัญทั่วไปซึ่งที่
ฝังศพแน่นอนจนปัจจุบันก็ยังไม่ทราบ

นักประพันธ์ในปลายศตวรรษที่ 19 ที่บูชาและยกย่องเขามากได้แก่ Richard Wagner และ Peter Tchaikovsky และดนตรีของเขามีอิทธิพลต่อ The neo – classical compositions ของ Igor Stravinsky และ Sergei Prokofiev ในศตวรรษที่ 20


4 . เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven 1770-1827) Top
ผู้ประพันธ์เพลงชาวเยอรมันผู้ยิ่งใหญ่ในโลกของดนตรีตะวันตก เกิดเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1770 ที่กรุงบอนน์ เป็นผู้นำดนตรีในรูปแบบใหม่จากสมัยคลาสสิกมาสู่สมัยโรแมนติก และมีชื่อเสียงในงานประพันธ์ดนตรีประเภทซิมโฟนี เชมเบอร์ มิวสิก ดนตรีสำหรับเปียโน
แมส โอเปร่า และออราทอริโอ ในช่วงของเบโธเฟน แสดงถึงจุดสูงสุด ในการพัฒนาฟอร์มและสไตล์ดนตรีแบบคลาสสิก แบบต่าง ๆ
ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน ได้ประพันธ์ซิมโฟนีไว้ 9 บท แต่ละบทล้วนได้รับความชื่นชอบจากผู้ฟังเป็นอย่างสูง
และต่างก็มีคุณสมบัติเฉพาะตัวไม่ซ้ำแบบกัน เขาได้เริ่มแต่งซิมโฟนีหมายเลข 1 เมื่ออายุ 27 ปี (ค.ศ.1797) และแต่งซิมโฟนีหมายเลข 9 เสร็จลงเมื่ออายุ 53 ปี (ค.ศ. 1823 ก่อนถึงมรณกรรม 4 ปี) รวมช่วงเวลาของเขาในการประพันธ์ซิมโฟนี 25 ปี ซึ่งนับว่าเป็นระยะเวลานานพอที่จะทำให้ซิมโฟนีทั้ง 9 บทมีความแตกต่างกัน
เบโธเฟนได้ประเดิมความตื่นเต้นให้เกิดขึ้นทันทีในตอนเริ่มต้นซิมโฟนีบทแรกของเขาด้วยเสียงที่กระด้างหู จนทำให้นักวิจารณ์ดนตรีร่วมสมัยเดียวกันกับเขาถึงกับตะลึงและกล่าวออกมาว่า “ถึงแม้ว่าเขา (เบโธเฟน) พยายามจะเคร่งครัดในแบบแผนคลาสสิกแต่เขาก็อดที่จะแหวกแนวไม่ได้”อีก 5 ปีหลังจากซิมโฟนีหมายเลข 1 ได้เริ่มขึ้นเขาก็ได้แต่งซิมโฟนีหมายเลข 2 ในช่วงเวลาที่เขาได้รับความทรมานอย่างหนักทั้งกายและทางใจ ประจักษ์พยานในเรื่องนี้เราจะทราบเมื่อได้อ่าน “ไฮลิเก็นช์ตัดท์ เทสตาเมนท์” อันเป็นที่มาของ
บทประพันธ์สั้น Fur Elise ซึ่งตัวเขาเองได้บันทึกไว้อย่างชวนให้น่าเห็นใจในซิมโฟนีบทนี้ ปรากฏว่าไม่มีร่องรอยของความทุกข์หม่นหมองแฝงอยู่เลยตรงกันข้ามบทเพลงกลับเพียบพร้อมไปด้วยความงดงามและความสง่าผ่าเผยและเบโธเฟนยังคงยึดมั่น
แบบแผนคลาสสิก เช่นเดียวกับซิมโฟนีบทแรก
เบโธเฟนได้ให้ชื่อซิมโฟนีหมายเลข 3 ของเขาว่า "Eroica" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเขาเป็นคนที่ยกย่องเทิดทูนวีรบุรุษขณะที่เขาประพันธ์งานชิ้นนี้เขาเริ่มเป็นตัวของตัวเองแล้ว บทเพลงนี้ประกอบด้วยความโศกสลด ความมีพลังอำนาจ อีกทั้งความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้ ปรากฏอย่างน่าทึ่งด้วยภาษาของดนตรี

ซิมโฟนีหมายเลข 4 มีบางสิ่งบางอย่างคล้ายคลึงกับซิมโฟนีหมายเลข 2 ผลงานชิ้นนี้ ได้สะท้อนอารมณ์อันอ่อนโยนละมุนละไมของเบโธเฟนออกมามากกว่าบทใด ๆ เขาแต่งขึ้น ขณะที่จิตใจกำลังอิ่มเอมด้วยความรัก ซิมโฟนีบทนี้ได้ก่อให้เกิดการตัดกันอย่างเด่นชัดของซิมโฟนีทั้งสอง ที่อยู่ข้างเคียง คือ ซิมโฟนีหมายเลข 3 อันห้าวหาญ และซิมโฟนีหมายเลข 5 ที่เต็มไปด้วยการต่อสู้ดิ้นรน ซึ่งโรเบิ์รท ชูมันน์ คีตกวีผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในสมัยโรแมนติกกล่าวว่า
"...ดุจสาวกรีกที่มีโฉมสคราญยืนอยู่ ระหว่างยักษ์ใหญ่ไวคิงสองตน..."
ในปี ค.ศ.1807 ความพิการของหูทั้งสองข้างของเขาซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ปีค.ศ.1800 ได้กำเริบหนักขึ้น และส่ออาการว่าจะไม่ได้ยินอะไรอีกต่อไป
ได้ ขอให้ท่านลองคิดดูว่า ศิลปินที่ใช้กระแสเสียงเป็นสื่อกลางในการสร้างสรรค์ผลงานจะระทมทุกข์เพียงใด เมื่อรู้ว่าความย่อยยับนี้กำลัง
มาสู่เขาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากเสียงของตัวโน้ต 4 ตัว "สั้น-สั้น-สั้น-ยาว"ที่ผู้ฟังส่วนมากคุ้นหูในท่อนแรก ไปจนกระทั่งเสียงแห่งความมีชัยชนะ
เคราะห์กรรมในท่อนสุดท้ายของซิมโฟนีหมายเลข 5 ย่อมจะไม่เป็นที่สงสัยเลย ซิมโฟนีบทนี้ได้กลายเป็นซิมโฟนีที่มีชื่อเสียง
โด่งดังที่สุดของเบโธเฟนหรือแม้แต่ของคีตกวีทั้งปวงที่ได้แต่งซิมโฟนีขึ้น

เบโธเฟนได้ใช้ธรรมชาติเป็นสิ่งปลอบประโลมใจในยามทุกข์ เขามักจะออกไปสู่ชนบทเสมอ เพื่อสัมผัสกับท้องทุ่งที่เขียวชอุ่ม อากาศสดชื่น
แสงแดดอ่อน ๆ เสียงของกระแสน้ำในลำธาร เสียงนกตามกิ่งไม้ พายุฝน ความชุ่มฉ่ำภายหลังฝนตก ฯลฯ สิ่งและสภาวะเหล่านี้
ได้นำมาบรรจุลงอย่างสมบูรณ์แล้วในซิมโฟนีหมายเลข 6 ซึ่งผู้ฟังรู้จักกันดีชื่อว่า "Pastoral" เบโธเฟนนั้นไม่เพียงแต่จะเป็นนักธรรมชาตินิยม
ที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง หากเขายังเป็นผู้ให้แนวคิดใหม่ ๆ กับคีตกวีโรแมนติกในสมัยต่อมาอีกด้วย เขาได้เริ่มวางเค้าโครง ซิมโฟนีหมายเลข 7 เมื่อ
ปี ค.ศ. 1811 และได้แต่งเสร็จเรียบร้อยในปีต่อมา ซิมโฟนีบทนี้ ริชาร์ด วากเนอร์ ได้ให้ฉายาว่า "The apotheosis of the Dance" ทั้งนี้เพราะวากเนอร์ได้ฟังบทบรรเลงนี้เขารู้สึกเหมือนว่าได้ร่วมสนุกกับแบ็คคัส เทพเจ้าแห่งเหล้าองุ่น และเหล่าบริวารในงานเลี้ยงฉลองกันอย่างครึกครื้นก่อนที่ความโอฬารตามแบบฉบับของเบโธเฟนจะได้ปรากฏแก่ผู้ฟังในเวลาต่อมา เบโธเฟนได้ถูกนักวิจารณ์ร่วมสมัย ประนามเขาอย่างไม่ไว้หน้าว่า เป็นคนป่าเถื่อนและมีสติไม่สมบูรณ์
(ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :160)

ในซิมโฟนีหมายเลข 8 เบโธเฟนได้สอดแทรกการมองโลกในแง่ดีและอารมณ์ขันของเขาลงไปอย่างได้ผล ซิมโฟนีบทนี้ก็เช่นเดียวกับซิมโฟนีหมายเลข 4 กล่าวคือ มันเปรียบดุจดอกกุหลาบอันบอบบาง อยู่ระหว่างผาหินทั้งสอง (คือซิมโฟนีหมายเลข 7 และหมายเลข 9) ซิมโฟนีหมายเลข 9 "Choral" ได้อุบัติขึ้นหลังจากหูทั้งสองของเขาไม่สามารถจะรับเสียงอะไร ๆ
ได้อีกต่อไป เบโธเฟนได้แสดงความปรารถนาอย่างแรงกล้าในอันที่จะเห็นมนุษย์อยู่ร่วมกัน
อย่างสันติ เขาได้กำหนดให้มีการขับร้องบทกวีของซิลเลอร์ในท่อนสุดท้ายของซิมโฟนีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดบทนี้

เบโธเฟนได้มีความคิดที่ประพันธ์บทเพลงที่มีการขับร้องเดี่ยวและประสานเสียงมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1808 ซึ่งจะพบได้จากการทดลองใน Choral Fatasia โอปุส 80 ของเขาจากนั้นมาเขาก็ได้ให้ความสนใจกับ Missa solemnis อันเป็นผลงานยิ่งใหญ่ทางด้านศาสนาเสียหลายปี จนได้มาแต่งซิมโฟนีบทนี้และสำเร็จลงเมื่อเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.1823 เขาได้ทิ้งช่วงเวลาห่างถึง 11 ปี (ค.ศ.1812-1823) หลังจากได้แต่งซิมโฟนีหมายเลข 8 เสร็จ ซิมโฟนีหมายเลข 9 นี้ได้ออกแสดงครั้งแรกที่ Karnthner theater ในนครเวียนนาเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ.1824 โดย Gesselschaft der Musikfreunde การแสดงครั้งแรกปรากฏว่าเต็มไปด้วยความทะลักทุเลกันเนื่องมาจากวงดนตรีอ่อนซ้อม และความสับสนในหมู่นักร้อง อย่างไรก็ดี การแสดงครั้งนั้นได้มีเหตุการณ์อันน่าสะเทือนใจเกิดขึ้น เมื่อซิมโฟนีจบลง ผู้ฟังได้ปรบมือพร้อมกับโห่ร้องอย่างกึกก้องเป็นระยะเวลานาน จนแทบจะทำให้โรงละครนั้นพังลง
แต่เบโธเฟนผู้ซึ่งยืนอยู่ในกลุ่มนักดนตรีเป็นผู้เดียวเท่านั้นที่ไม่สามารถได้ยินเสียงแห่งความปิติยินดี สายตาของเขายังคงจับจ้องอยู่ที่โน้ตเพลง จนกระทั่งนักร้องสาวเสียงโซปราโนนามว่า คาโรลิน อุงเกอรี เกิดสงสารเขาจนน้ำตาคลอได้ค่อย ๆ หันตัวเขาอย่างเบา ๆ ไปสู่ผู้ฟัง เขาจึงได้เห็นทุกคนในที่นั้นต่างแสดงความปลาบปลื้มต่อความสำเร็จของเขา แต่ก็เป็นความสำเร็จที่เขาไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยโสตประสาทตราบสุดท้ายแห่งชีวิต

ในระยะเวลา 57 ปี ของชีวิตเบโธเฟนกล่าวได้ว่า เป็นช่วงเวลาแห่งการสร้างสรรค์ผลงานทางดนตรีในรูปแบบใหม่จากคลาสสิกมาสู่สมัยโรแมนติกด้วยความตั้งใจจริงผนวกกับความมีอัจฉริยะทำให้เบโธเฟนเป็นผู้ประพันธ์เพลงที่ยิ่งใหญ่ตลอดกาล ยากที่จะหาผู้ประพันธ์คนอื่นมาเทียบเทียมได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่เพลงของเบโธเฟนยังคงเป็นที่นิยมฟังและนิยมบรรเลงกันตลอดมาจนกระทั่งปัจจุบัน


ตัวอย่างเพลง
Gluck : Orfeo and Eurydice
Haydn : Symphony No.104
The Creation (Oratorio)
String Quartet in G Major, Op.64 No.4
Mozat : Symphony No.41 in C Major “Jupiter” K.551
Piano Concerto in C Major, K.467
String Quartet in G Major, K.387
The marriage of Figaro (Opera)
Don Giovanni (Opera)
The Magic Flute (Opera)
D. Scarlatti : Sonata in D Major,K.119
J.C.Bach : Concerto for Harpsichord or Piano and Strings in E flat Major,Op.7 No.5






http://www.sadetmusic.com

โรแมนติก



ความหมายของคำว่า “โรแมนติก” กว้างมากจนยากที่จะหานิยามสั้น ๆ ให้ได้ ในทางดนตรีมักให้ความหมายว่า ลักษณะที่ตรงกันข้ามกับดนตรีคลาสสิก
กล่าวคือ ขณะที่ดนตรีคลาสสิกเน้นที่รูปแบบอันลงตัวแน่นอน (Formality)โรแมนติกจะเน้นที่เนื้อหา(Content) คลาสสิกเน้นความมีเหตุผลเกี่ยวข้องกัน (Rationalism)โรแมนติกเน้นที่อารมณ์ (Emotionalism) และคลาสสิกเป็นตัวแทนความคิด
แบบภววิสัย(Objectivity) โรแมนติกจะเป็นตัวแทนของอัตวิสัย (Subjectivity)
นอกจากนี้ยังมีคำนิยามเกี่ยวกับดนตรีสมัยโรแมนติก ดังนี้
- คุณลักษณะของการยอมให้แสดงออกได้อย่างเต็มที่ซึ่งจินตนาการ อารมณ์ที่หวั่นไหว และความรู้สึกทางใจ
- ในดนตรีและวรรณกรรม หมายถึง คำที่ตรงกันข้ามกับคำว่า “Classicism” เสรีภาพที่พ้นจากการเหนี่ยวรั้งทางจิตใจ หรือจารีตนิยมเพื่อที่จะกระทำการในเรื่องใด ๆ

สมัยโรแมนติกเริ่มต้นขึ้นในตอนต้นของศตวรรษที่ 19แต่รูปแบบของดนตรีโรแมนติกเริ่มเป็นรูปแบบขึ้นในตอนปลายของศตวรรษที่ 18 แล้วโดยมีเบโธเฟนเป็นผู้นำ และเป็นรูปแบบของเพลงที่ยังคงพบเห็นแม้ในศตวรรษที่ 20 นี้ สมัยนี้เป็นดนตรีที่แสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกของ ผู้ประพันธ์อย่างมาก ผู้ประพันธ์เพลงในสมัยนี้ไม่ได้แต่งเพลงให้กับเจ้านายของตนดังในสมัยก่อน ๆ ผู้ประพันธ์เพลงแต่งเพลงตามใจชอบของตน และขายต้นฉบับให้กับสำนักพิมพ์เป็นส่วนใหญ่ ลักษณะดนตรีจึงเป็นลักษณะของผู้ประพันธ์เอง
ลักษณะของดนตรีโรแมนติก (ไขแสง ศุขะวัฒนะ,2535 :111)
1. คีตกวีสมัยนี้มีความคิดเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิด
อย่างมีอิสระ ไม่จำเป็นต้องสร้างความงามตามแบบแผนวิธีการ และไม่ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ใดทั้งนี้เพราะเขาไม่ได้อยู่ในความอุปภัมภ์ของโบสถ์ เจ้านาย และขุนนางเช่นคีตกวีสมัยคลาสสิกอีกต่อไป
2. ใช้อารมณ์ และจินตนาการเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงาน
3. ลักษณะที่เปลี่ยนไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธิชาตินิยม” (Nationalism)
4. ลักษณะที่ยังคงอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ลัทธินิยมเยอรมัน” (Germanism)
5. ลักษณะภายในองค์ประกอบของดนตรีโดยตรง
5.1 ทำนอง ลีลาและบรรยากาศของทำนองเน้นความรู้สึก และอารมณ์ของบุคคลมากขึ้นมีแนวเหมือนแนวสำหรับขับร้องมากขึ้น และความยาวของวลี (Phrase) ก็เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำกัด
5.2 การประสานเสียง โครงสร้างของคอร์ดและลำดับการใช้คอร์ด มีเสรีภาพมากขึ้นการใช้คอร์ด 7 คอร์ด 9 อย่างมีอิสระ และการย้ายบันไดเสียงแบบโครมาติค (Chromatic Modulation) มีบทบาทที่สำคัญ
5.3 ความสำคัญของเสียงหลัก (Tonality) หรือในคีย์ยังคงมีอยู่ แต่เริ่มคลุมเครือหรือเลือนลางไปบ้าง เนื่องจากบางครั้งมีการเปลี่ยนบันไดเสียงออกไปใช้บันไดเสียงที่เป็นญาติห่างไกลบ้าง หรือ Chromatic Modulation
5.4 พื้นผิว ในสมัยนี้โฮโมโฟนียังคงมีความสำคัญมากกว่าเคาน์เตอร์พอยท์
5.5 ความดังเบาของเสียง (Dynamics) ในสมัยนี้ได้รับการเน้นให้ชัดเจนทั้งความ
ดัง และความเบาจนเป็นจุดเด่นจุดหนึ่ง
ประวัติผู้ประพันธ์เพลง
1.จิอะซิโน รอสชินี (Gioacchino Rossini,1792-1868)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียน เกิดเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1792 ที่เมืองเปซาโร (Pesaro) เรียนดนตรีครั้งแรกกับพ่อและแม่ซึ่งพ่อเป็นผู้เล่นฮอร์น และทรัมเปต ส่วนแม่เป็นนักร้องที่มีเสียงใสต่อมาจึงได้เรียนการประพันธ์ดนตรีแบบเคาน์เตอร์พอยท์ อย่างจริงจังกับTesei และ Mattei ที่เมืองโบโลญา (Bolongna) รอสชินีมีชื่อเสียงจากการประพันธ์โอเปร่า และโอเปร่าชวนหัวมีแนวการแต่งเพลงแบบค่อย ๆ พัฒนาความ
สำคัญของเนื้อหาดนตรีทีละน้อยไปจนถึงจุดสุดยอดในที่สุด
ผลงานที่มีชื่อเสียง
ผลงานโอเปร่าของรอสชินีได้แก่ La Scala di Seta, La Gazza Ladra, La Cenerentola, Semiramide, The Baber of Seville และ William Tell
Top

2. ฟรานช์ ชูเบิร์ท (Franz Schubert,1797-1828)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวออสเตรีย เกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม ค.ศ1797 มีชีวิตอยู่ในเวียนนาจนกระทั่งถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน
ค.ศ. 1828 พ่อชื่อฟรานช์ ธีโอดอร์ ชูเบิร์ท (Franz Theodor Schubert) แม่ชื่อมาเรีย เอลิซาเบ็ธ วิทซ์
(Maria Elisabeth Vietz) พ่อมีอาชีพเป็นครูและเป็น
นักเชลโลสมัครเล่นที่มีฝีมือดีคนหนึ่งและพ่อเป็นคนแรก
ที่เป็นผู้ปลูกฝังนิสัยทางดนตรีให้แก่ชูเบิร์ทขณะที่ชูเบิร์ทมีอายุได้
้ 5 ขวบ พ่อก็เริ่มสอนวิชาเบื้องต้นให้ พออายุได้ 6 ขวบ ก็เข้าโรงเรียน
ประถมที่พ่อของเขาสอนอยู่ และก็ได้เริ่มฝึกหัดเปียโนบ้างเมื่ออายุ 8 ขวบพ่อก็สอนไวโอลิน และทำการฝึกซ้อมให้อย่างสม่ำเสมอ ในไม่ช้าเขาก็สามารถเล่นเพลงดูเอท (Duet) อย่างง่าย ๆ ได้อย่างดี ตลอดช่วงชีวิตสั้น ๆ ของชูเบิร์ทเพียง 31 ปี แทบไม่เคยได้รับการยกย่องในฐานะผู้ประพันธ์เพลงแต่อย่างใดเขาได้ทิ้งผลงาน ซิมโฟนี 8 เพลง สตริงควอเตท 19 เพลงเปียโนโซนาต้า 21 เพลง และอื่น ๆ อีกกว่า 600
ผลงานที่มีชื่อเสียง
Symphony No.5 in B flat:First movement 1816, Great C Major Symphony, Unfinished Symphony (ชูเบิร์ทยังประพันธ์ไม่เสร็จเพราะถึงแก่กรรมก่อน), String Quartet No. 13 in A minor : Second movement 1823, Rosam under : incidentat Music(ใช้ประกอบการแสดงบัลเลย์)
  Top 

3. เฮกเตอร์ เบร์ลิโอส (Hector Berlioz,1803-1869)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศส เกิดใกล้เมืองลีอองส์
เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ.1803 เป็นผู้หนึ่งที่พัฒนารูปแบบของ
ดนตรีโรแมนติกหลังจากที่เบโธเฟนบุกเบิกไว้ เบร์ลิโอสเกิดมาใน
ตระกูลผู้มีอันจะกินพ่อเป็นแพทย์เบร์ลิโอสเริ่มหัดเป่าขลุ่ยในวัย
12 ขวบ โดยมีพ่อเป็นครูคนแรก และต่อมาก็จ้างครูคนอื่น ๆ มา
สอนครูคนล่าสุดซึ่งสอนกีต้าร์อยู่ไม่นานก็บอกกับพ่อว่าเขาเล่นได้ดี
กว่าตัวคนสอนเสียอีก ตัวพ่อเองไม่อยากให้เขาเรียนเปียโน
เพราะไม่อยากให้เบร์ลิโอสจริงจังกับดนตรีมากเกิน
 ไปซึ่งจะทำให้ผิดเป้าหมายของพ่อที่ต้องการให้เขาเรียนหมอ บ่อยครั้งที่เขารู้สึกว่าตัวเองขาดความสามารถในทางคีย์บอร์ดไป ซึ่งความรู้สึกดังกล่าวนี้ทำให้เขาไม่มั่นใจในการประพันธ์เพลงแต่ต่อมาเขาก็พยายามหาความรู้จนสามารถทำได้ดี (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 :94)

ชีวิตที่หักเหจากเขาได้ไปเรียนแพทย์ตามที่พ่อต้องการได้ไม่นานเบร์ลิโอสไม่ได้มีความสน
ใจเรียนหมอเลยนอกจากสนใจอยู่กับสมุดโน้ตดนตรีเพียงอย่างเดียว เขาจึงเรียนไปไม่ตลอด เขาตัด
สินใจเบนเข็มชีวิตมุ่งสู่โลกแห่งดนตรีอย่างจริงจัง แม้ชื่อเสียงจะยังไม่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปแต่เขาก็รู้สึก
ว่าตนมีชีวิตแนบแน่นกับดนตรี

เบร์ลิโอสหลงรักนักแสดงอุปรากรชื่อ ฮาร์เรียต สมิธสัน ตอนแรกเธอเห็นเป็นเรื่องตลก เพราะเบร์ลิโอสสารภาพรักอย่างสายฟ้าแลบทันทีที่เข้าถึงตัวทั้ง ๆ ที่เขาทั้งสองไม่เคยรู้จักกันมา
ก่อน แต่ฝ่ายหญิงไม่เล่นด้วยจึงทำให้เขาผิดหวังอกหัก ความผิดหวังครั้งนี้เป็นต้นเหตุทำให้เขาแต่งเพลง “ซิมโฟนี ฟานทาสติค” (Symphonie Fantastique) ในที่สุดเขาก็ได้แต่งงานกับฮาร์เรียต สมิธสัน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม ค.ศ. 1833 มีบุตรชายด้วยกัน 1 คน

สำหรับเบร์ลิโอสแล้วเขาเป็นคนช่างฝัน เขาขาดความรักเป็นไม่ได้ หลังจากที่แยกทางกับ
ฮาร์เรียต แล้ว เขาแต่งงานอีกครั้งกับ มารี (Marie Recio) หลังจากนั้นไม่นานฮาร์เรียตก็สิ้นชีวิตเบร์ลิโอสดูเหมือนจะถูกกำหนดให้เลี้ยงชีพด้วยความรักมีอยู่ 2 สิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเขาจึงหนีไม่พ้นดนตรีกับความรักแค่นี้เขาก็อยู่ได้ เบร์ลิโอสถึงแก่กรรมด้วยโรคลำไส้เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ. 1869 ในกรุงปารีส ตลอดชีวิตของเขา ความรักคืออาหารและของแสลงในเวลาเดียวกัน ผลงานของเขาจึงออกมาในลักษณะของภาพเหตุการณ์ในชีวิตที่ขมขื่นเป็นส่วนมาก แม้ในปลายชีวิตฐานะของเขาค่อนข้างดี แต่มันก็ไม่มีความหมายสำหรับเขามากนัก เขาประพันธ์ดนตรีด้วยอารมณ์ส่วนตัวมากกว่าจะคำนึงถึงคนฟัง แต่ผลงานของเขาก็ยังได้รับความนิยมจากผู้ฟังจนกระทั่งปัจจุบัน
บทประพันธ์ของเบร์ลิโอสมีลักษณะเด่นอยู่ 2 ประการคือ การเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงออร์เคสตราและผลงานระดับใหญ่เสมอ เขาไม่สนใจกับการแต่งเพลงให้เครื่องดนตรีเดี่ยว


ผลงานที่มีชื่อเสียง
Symphonic fantastique : First movement 1830(เป็นซิมโฟนีที่แต่งขึ้นจากความชอกช้ำที่ถูกปฏิเสธความรัก), Harold in Italy : Pilgrims’March 1834, Dramatic Symphony 1838 ,Roman Carnival 1844,Hungarian March 1848,The Pirate 1854

Top  

4. เฟลิกซ์ เมนเดลโซห์น (Felix Mendelssohn,1809-1847)
ผู้อำนวยเพลงและผู้ประพันธ์เพลงชาวเยอรมันเกิดที่เมือง ฮามบวร์ก (Hamburg)
เป็นลูกคนที่ 2 และเป็นลูกชายคนโต พ่อชื่อ อับราฮัม เมนเดลโซห์น
(Abrahum Mendelssohn) เป็นนายธนาคารผู้มั่งคั่งแม่ชื่อ ลีห์ ซาโลมอน
(Leah Salomon) ไม่มีใครคาดคิดเลยว่าคนอย่างเมนเดลโซห์นจะดำเนินชีวิตไปใน
แบบของศิลปินทางดนตรีและประพันธ์เพลงจนมีชื่อเสียงไปทั่วโลกเนื่องจาก
ี ในอดีตเราจะพบว่าผู้ที่ดำเนินชีวิตแบบนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคนยากจนค่นแค้น

 มีความเป็นอยู่ที่แสนลำบากยากเข็ญแทบทุกคนแต่เมนเดลโซห์นเขาใช้ความร่ำรวยของเขาไปใช้ในทางสร้างสรรค
์ความสุขให้แก่มวลมนุษย์ ด้วยเสียงเพลงซึ่งชื่อเฟลิกซ์ (Felix) เป็นคำภาษาลาตินแปลว่า
“ความสุข” (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :164)

ชีวิตของเมนเดลโซห์นเป็นชีวิตที่สบายเกินกว่านักดนตรีหรือผู้ประพันธ์เพลงทั่วไปจะมีแต่ว่าสังขารหรือสุขภาพของเขาไม่สู้จะดีนักในช่วงอายุประมาณ 30 กว่า ๆ และพออายุได้ 38 ปี พี่สาวซึ่งเป็นที่รักของเขาที่ชื่อแฟนนี่เสียชีวิตลง เขาเสียใจมากทำให้สุขภาพทรุดหนักลงไปอีกจนใน

ที่สุดเขาก็ถึงแก่กรรมลงเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน ค.ศ. 1847
คงเหลือไว้แด่เพียงผลงานที่เขาได้ทุ่มเทเวลาสร้างมันขึ้นมา
ไว้เป็นอนุสรณ์ให้ชนรุ่นหลัง ๆ ได้ศึกษาค้นคว้าต่อไป

แนวการประพันธ์ของเมนเดลโซห์นยึดรูปแบบของ
คลาสสิกโดยผสมผสานกับความรู้สึก โรแมนติกจากตัวเขาเอง
 
ผลงานที่มีชื่อเสียง
Hebrides Overture 1830, Scottish Symphony : Second movement 1842, A Midsummer Night’s Dream 1843,Violin Concerto in E minor 1844 , Song without Words 1845

Top 

5. เฟรเดอริก ฟรองซัวส์ โชแปง (Frederic Francios Chopin, 1810-1849)
ผู้ประพันธ์เพลงและนักเปียโนเลือดผสมฝรั่งเศส - โปแลนด์ เกิดที่หมู่บ้านเซลาโซวา โวลา
(Zelazowa Wola) ใกล้ กรุงวอร์ซอว์ (Warsaw) ประเทศโปแลนด์ (Poland) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1810 โชแปงเกิดในประเทศโปแลนด์
แต่ใช้ชีวิตตั้ง แต่วัยหนุ่มอยู่ในปาริสจนถึงแก่กรรม วันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1849
โชแปงมีพี่น้องผู้หญิงอีก 3 คน ส่วนเขาเป็นลูก ผู้ชายคนเดียว พ่อแม่จึงรักมาก
โชแปงเป็นคนที่มี รูปร่างบอบบางจิตใจอ่อนไหวง่ายมีความรักชาติมากตั้งแต่เด็ก ๆ จนเป็นแรงบันดาลใจให้เขาประพันธ์ดนตรีสำหรับเปียโนไว้มากมาย
 โชแปงเริ่มเรียนเปียโนเมื่ออายุ 7 ขวบกับครูดนตรีชื่อ อดาลแบต์ ซิวนี (Adalbert Zywny) ชาวโบฮีเมีย เนื่องจากครูคนนี้ชอบดนตรีของบาค โมสาร์ท และเบโธเฟน เป็นพิเศษจึงถ่ายทอดความคิดของเขาให้โชแปง ต่อจากนั้นโชแปงได้เรียนกับครูคนใหม่ชื่อโยเซฟ เอ็ลสเนอร์ (Joseph Elsner) จนกระทั่งอายุได้ 16 ปีก็เข้าสถาบันดนตรีแห่งวอร์ซอว์ ซึ่งเอ็ลสเนอร์ดำรงตำแหน่งผู้จัดการ ณ จุดนี้เองที่ทำให้โชแปงเรียนดนตรีอย่างเต็มที่
(ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 :105)

ในสมัยนั้นเป็นช่วงของการอภิวัฒน์ทางศิลป์ และศิลปินเริ่มมีความสำคัญต่อสังคมมากขึ้น ทั้งนักดนตรี นักวาดรูป และนักประพันธ์ สามารถสมาคมกับข้าราชการหรือเจ้านายชั้นสูงในฐานะเท่าเทียมกัน โชแปงได้รับเชิญไปบรรเลงเปียโนเสมอมาจากการบรรเลงนี้รวมทั้งการสอนดนตรี ทำให้โชแปงสามารถช่วยตัวเองให้ดำรงอยู่ได้

ชื่อเสียงของโชแปงโด่งดังเพราะเขาได้พัฒนาบทเพลงสั้น ๆ สำหรับเปียโนหรือที่เรียกกันว่า “Character Piece” และมักจะพิมพ์เป็นชุด ๆ เช่น 24 preludes หรือ 12 ededes เป็นต้นและ แต่ละเพลงสั้นกว่าโซนาตา (Sonata) หรือบัลลาด (Ballade) มากแต่เรื่องอารมณ์เพลงแล้วกว้างขวางมากซึ่งโชแปงแสดงอารมณ์เพลงโดยใช้ลักษณะการประสานเสียงและใช้ทำนองเพลง

โชแปงเป็นคนที่มีสุขภาพไม่สู้จะดีนักมีอาการเจ็บป่วยหลาย ๆ ครั้งจนครั้งสุดท้ายเขาเกิดอาการไอจนเป็นเลือดแต่นายแพทย์ก็ช่วยไว้ได้จนในที่สุดช่วงใกล้จะถึงแก่กรรมด้วยความรัก แผ่นดินเกิดโชแปงได้ขอร้องให้เอาก้อนดินจากโปแลนด์ที่ครูและเพื่อน ๆ ให้มาเมื่อวันจากวอร์ซอว์นั้นมาจูบเป็นครั้งสุดท้ายและขอให้ทำพิธีต่าง ๆ ทางศาสนาแบบคริสเตียนได้ขอร้องให้เพื่อน ๆ ที่อยู่ใกล้ชิดตอนนี้ให้พิมพ์บทเพลงของเขาที่ยังไม่ได้พิมพ์นั้นด้วย เวลาเขาตายแล้วให้เล่นเพลง เรควิเอม (Requiem) ของโมสาร์ทในงานศพของเขาด้วยกับให้เล่นเพลง Funeral March from the Sonata,Opus 35 the E minor และ B minor Preludes โดยใช้ออร์แกน


ก่อนสิ้นใจเขาขอให้พี่สาวเผาผลงาน
ที่ไม่ดีของเขาทิ้งเสียให้หมด “ฉันเป็นหนี้ประชาชนและตัวฉันเองที่จะต้องพิมพ์แต่ผลงานที่ดีเท่านั้น ฉันได้ตลอดชีวิต และปรารถนาที่จะรักษาความตั้งใจ นั้นไว้ ณ บัดนี้” แต่ไม่มีใครเอาใจใส่กับคำขอร้องนั้นเลย

โชแปงทนทรมานอยู่จนเกือบใกล้รุ่งของวันที่ 17 ตุลาคม ค.ศ. 1849 จึงได้สิ้นใจ
ด้วยวัณโรคด้วยอายุได้เพียง 39 ปี ท่ามกลางความอาลัยรักของญาติมิตรสหายและลูกศิษย์ ศพของเขา
ฝังไว้ที่ Pere – Lachaise พร้อมกับก้อนดินของโปแลนด์ก้อนนั้น

ดนตรีของโชแปงเป็นดนตรีโรแมนติกตามความหมายโดยแท้ ๆ เป็นดนตรีที่แสดงอารมณ์ของผู้ประพันธ์อย่างอิสระ
 
ผลงานที่มีชื่อเสียง
ผลงานของโชแปงแทบทั้งหมดเป็นประเภทดนตรีสำหรับเปียโน ดนตรีของโชแปงเป็นดนตรีที่แสดงออกถึงความรู้สึกโรแมนติกซึ่งเต็มไปด้วยความสวยงามและการกลั่นกรองให้เป็นผลงานคุณภาพทั้งสิ้น ผลงานที่เด่นประกอบด้วย Ballade No.1 in G minor,Berceuse in D flat, Funeral March Piano Concerto No.1 in Em 1830, Twelve Etudes in Gb 1830, Mazurka in Cm 1830-49, Nocturne in C Sharp minor,Nocturne in Eb 1830-46 , Waltz in E flat

Top

6. โรเบิร์ท ชูมานน์ (Robert Schumann, 1810-1856)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวเยอรมันเกิดเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ 1810
ที่เมือง Zwickau แคว้นแซ็กโซนี (Saxony) ซึ่งห่างจากเมือง
ไลพ์ซิกประมาณ 40 ไมล์เป็นลูกคนเล็กของฟรีดริค ออกัสท์
ชูมานน์ (Friedrich August Schumann)เป็นเจ้าของร้านขาย
หนังสือชูมานน์เกิดในปีเดียวกันกับโชแปง เขาเริ่มฉายแววแห่ง
ความเป็นนักดนตรีตั้งแต่อายุ 6 ขวบและสามารถแต่งเพลงได้
เมื่ออายุ 7 ขวบ ทำให้ผู้เป็นพ่อภูมิใจมากเขาจึงให้
ชูมานน์เริ่มเรียนดนตรีอย่างจริงจังขณะอายุได้ 8 ขวบ โดยเรียนกับ Johann Gottfried Kuntzsch ซึ่งเป็นนักออร์แกนที่มีชื่อเสียง พออายุ 15 มีโอกาสแสดงฝีมือเดี่ยวเปียโนที่โรงแสดงดนตรีและโรงเรียนท้องถิ่นที่เรียนอยู่ ปรากฏว่าได้รับความชมเชยจากผู้ฟังไม่น้อย ความจริงแล้วผู้เป็นพ่อตั้งใจให้ชูมาน์เป็นนักกฎหมายแต่เขาต้องการเป็น
นักดนตรีและเขาก็ทำได้สำเร็จเขาถือว่าเป็นนักดนตรีในสมัยโรแมนติกที่สร้างสรรค์ผลงานดีเด่นใน
รูปแบบของสมัยนี้ผู้หนึ่ง พ่อเสียชีวิตไปก่อนแต่เขาก็ไม่สามารถเป็นนักเปียโนได้ดังใจนึกเพราะเขาประสบอุบัติเหตุ นิ้วนางข้างขวาไม่ทำงานชูมานน์มีความสามารถในการเขียนหนังสือซึ่งได้รับ
อิทธิพลมาจากพ่อที่มีร้านขายหนังสือเขาเริ่มเป็นนักเขียนและ

เป็นบรรณาธิการออกวารสารดนตรีชื่อ Neue Zeits chrift fur
Musik (New Music Journal) เป็นวารสารที่มีจุดประสงค์เพื่อต่อต้านพวกที่ทำลายดนตรีเพราะเห็นแก่ได้ ซึ่งเป็นวารสารที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาให้ดนตรีสูงขึ้นนอกจากนี้ยังมีส่วนส่งเสริม
นักดนตรีดี ๆ หลายคนซึ่งกลายเป็นคีตกวีเอกของโลกเช่นเมนเดล
โซห์น เบร์ลิโอส ลิสซต์ โชแปง บราห์มส์ ฯลฯ ชูมานน์เป็น
บรรณาธิการอยู่นาน 10 ปี ภายหลังเขาต้องลาออกเพราะโรค
ประสาทกำเริบหนัก แต่เขียนบทความลงเสมอ ๆ อีกเกือบ 10 ปี
นอกจากประพันธ์เพลงแล้วชูมานน์ยังเป็นนักวิจารณ์ดนตรีอีกด้วย ภรรยา
ของชูมานน์เป็นนักเปียโนและผู้ประพันธ์เพลง ช่วงประมาณปี ค.ศ.1854 ชูมานน์เริ่มอาการทางประสาท ซึ่งภรรยาเขามีส่วนช่วยเหลือพยาบาลชูมานน์ซึ่งป่วยเป็นโรคประสาทอย่างแรงถึงกับเคยฆ่าตัวตายแต่มีคนช่วยไว้ได้เมื่ออายุได้ 46 ปี อย่างไรก็ตามชีวิตหลังจากนั้นก็มืดมนไม่มีใครแก้ไขได้ ชูมานน์จึงถึงแก่กรรมในอีกสองปีต่อมา  
ผลงานที่มีชื่อเสียง
Carnaral : Arlequin 1835, Scenes from Childhood : Dreaming 1838

Top

7. ฟรานช์ ลิสซต์ (Franz Liszt, 1811,1886)
นักเปียโนและ ผู้ประพันธ์เพลงชาวฮังกาเรียน แต่มีชีวิตตั้งแต่วัยเด็กในปารีส เกิดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ค.ศ. 1811ที่เมืองไรดิง (Raiding) พ่อชื่อ อดัม
ลิสซต์ (Adam Liszt) และแม่ชื่อแอนนา ลาเกอร์(Anna Lager) ซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองทางออสเตรียตอนใต้ มีเชื้อสายเป็นชาวเยอรมัน พ่อของลิสซต์เป็นผู้ปลูกฝังดนตรีให้แก่เขา เมื่ออายุ 6 ขวบลิสซต์ ก็สามารถฮัมทำนองเพลงจากคอนแชร์โต้ชิ้นหนึ่งที่เขาได้ยินพ่อเล่น มันเป็นเรื่องที่น่าแปลกมากที่เด็กอายุขนาดนี้สามารถจำทำนองเพลงคอนแชร์โต้ได้ ความจริงคงไม่แปลกเท่าไรนักถ้าฮัมหลังจากที่พ่อของเขาเล่นจบลง แต่ลิสซต์ฮัมทำนองเพลงนี้หลังจากที่พ่อ
ของเขาเล่นจบแล้วหลายชั่วโมงนั้นแสดงให้เห็นว่าความประทับใจที่มีต่อการแสดงดนตรีของพ่อมากกว่าจากความจำเพราะเด็กเพียง 6 ขวบยังคงจำความไม่ได้ถึงขนาดนี้

ลิสซต์ได้มีโอกาสเดินทางไปแสดงคอนเสิร์ตหลาย ๆ แห่งเช่น กรุงปารีส กรุงลอนดอน กรุงเวียนนา กรุงมอสโคว์ และกรุงโรม จากการแสดงคอนเสิร์ต ของเขานี้เองทำให้เขามีประสบการณ์ชีวิตมากมายทั้งเรื่องดีและไม่ดี มีคนรู้จักและได้รู้จักผู้คนทั้งนักดนตรีเอกของโลกหลาย ๆ ท่านและได้แสดงความสามรถต่อหน้าสาธารณชนมากมาย ทั้งยังเป็นผู้ที่ผู้จัดตั้งสถาบันดนตรีที่มีชื่อเสียงระดับโลกคือ Liszt Academy of Music ณ นครบูตาเปชต์ ลิสซต์เป็นนักรักตัวฉกาจจนได้รับสมญาว่า “ดอนฮวน” (Don Juan) หรือจะเรียกเขาว่า “คาซาโนว่า” (Casanova) แห่งฮังการีก็ไม่ผิดนัก (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์,2535:124)

ในบั้นปลายชีวิตคือตั้งแต่ ค.ศ. 1880 -1885 เขาได้ทุ่มเทกำลังกายและกำลังใจในการเป็นครูและในบรรดาลูกศิษย์ลูกหาของเขาล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่มีความสามารถทั้งสิ้นเช่น Felix Weingartner, Moriz Rosenthal, Frederic Lamond, Emil Sauer และ Alexander Siloti นอกจากนี้ยังมีสตรีชาวรัสเซียอีกคนชื่อ Baroness Olga Meyondoff (Princess Gorstchakow)
จากการท่องเที่ยวและตรากตรำในการงานมากเกินไป ทำให้เขารู้สึกอ่อนเพลียไปทั่วสรรพางค์กาย และโรคภัยไข้เจ็บเริ่มเบียดเบียนวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1886 ขณะที่พำนักอยู่กับลูกสาว ณ เมืองไปรอยธ์ประเทศเยอรมัน เขาได้ป่วยเป็นไข้หวัดอย่างแรงและนิวมอเนีย (Pneumonia) เข้าแทรก จึงทำให้เขาถึงแก่กรรมอย่างสงบ เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1886 รวมอายุ 75 ปี ศพของลิสซต์ถูกฝังไว้ ณ เมืองไบรอยธ์
ผลงานที่มีชื่อเสียง
Piano Concerto No.1 in E flat Allegro maestoso 1830-49, Symphonic poem No.3 1848, Hungarian Rhapsody No. 2 1885

Top  

8. ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner, 1813-1883)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวเยอรมัน เกิดที่เมืองไลพ์ซิก (Leipzig)
เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 1813 มีชื่อเดิมว่า วิลเฮล์ม ริชาร์ด วากเนอร์
(Wilhelm Richard Wagner) ต่อมาเมื่ออายุ 20 ปี จึงตัด คำว่า
Wilhelm ออกคงเหลือแต่ Richard Wagner เป็นลูกคนที่ 9 ของ
ครอบครัวพ่อชื่อ ฟริดริช วิลเฮ็ล์ม วากเนอร์ (Friedrich Wilhelm
Wagner)
มีอาชีพเป็นเสมียนอยู่ศาลโปลิศของท้องถิ่นแม่ชื่อ โจฮันนา โรซีน (Johanne Rosine Wagner) หลังจาก
วากเนอร์เกิดได้ 6 เดือน พ่อของเขาก็ถึงแก่กรรมลงด้วยโรคระบาดจากนั้นแม่ก็ได้แต่งงานใหม่กับ ลุดวิก เกเยอร์ (Ludwig Gayer) ซึ่งเป็นนักแสดงละคร อาชีพและจิตรกร (ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์,2535:137)

วากเนอร์เริ่มเรียนเปียโนเมื่ออายุ 11 ขวบ กับ Humann แต่ตัวเขาเองมีความสนใจเกี่ยวกับอุปรากร (Opera) มากเพราะหลังจากที่เขาได้มีโอกาสเข้าชมอุปรากรของเวเบอร์ (Weber)
เรื่อง De Freishutz แล้วก็รู้สึกประทับใจมาก ประกอบกับคลารา (Clara) และโรซาลี (Rosalie) พี่สาวของเขาเป็นนักร้องอุปรากรในคณะนั้นด้วย

ปี ค.ศ. 1829 ขณะอายุ 16 ปี ก็เรียนไวโอลินและทฤษฎีดนตรี อายุ 17 ปี ได้ฟังเพลง
 
ของเบโธเฟนอีกครั้งหนึ่งที่เมืองไลพ์ซิกมีเพลงFidelio อันมีชื่อเสียงของเบโธเฟน จึงมีแรงบันดาลใจให้เขาเขียนเพลงโอเวอร์เจอร์ ในบันไดเสียงบีแฟลตเมเจอร์(Overture in B – Flat Major)และได้นำออกแสดงในปีเดียวกัน การแสดงครั้งนั้นไม่ได้รับความสนใจมากนักต่อจากนั้นวากเนอร์พยายามศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมทั้งทางด้านการเรียบเรียงเสียงประสาน เคาน์เตอร์พอยท์ เป็นต้น จนเขาสามารถประพันธ์เพลงไว้มากมายและยังเป็นผู้ที่ปฏิวัติรูปแบบของโอเปร่าการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงออร์เคสตรา รวมทั้งแนวความคิดเกี่ยวกับด้านศิลปะและปรัชญาซึ่งมีอิทธิพลมากในสมัยที่เขายังมีชีวิต
วากเนอร์เป็นคนที่ไม่ค่อยยอมลงกับใครหรือยกเว้นให้แก่ใครได้ง่าย ๆ แม้ว่าผู้นั้นจะเป็นพ่อ แม่ เพื่อนร่วมงาน หรือแม้กระทั่งกษัตริย์ก็ตาม เพราะฉะนั้นเพลงแต่ละเพลง อุปรากรแต่ละเรื่องของเขาในศตวรรษที่ 19 จึงฟังดูพิลึก ๆ ชอบกล

ชีวิตในบั้นปลายของวากเนอร์เป็นไปในทำนองต้นร้ายปลายดี เพราะเขาได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างสุขสำราญกับโคสิมาภรรยาสาวซึ่งเป็นลูกสาวของเพื่อนนักดนตรีรุ่นพี่ คือ ฟรานซ์ ลิสซต์ จนกระทั่งเธอตายในวันเกิดครบรอบ 59 ปี ของวากเนอร์นั่นเอง
ชาวเยอรมันได้วางศิลาฤกษ์ โรงละคร Festival Theater ขึ้นในเมือง Bayreuth และบ้าน Wahnfried ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่วากเนอร์และให้เป็นที่อยู่ของเขา เพราะชาวโลกได้ยอมรับแล้วว่า วากเนอร์เป็นนักดนตรีผู้ยิ่งใหญ่ของโลก
วากเนอร์มีชีวิตอยู่ทันชมอุปรากรเรื่อง Parsifal ที่เขียนสำเร็จในเดือนมกราคม ค.ศ. 1882 อันเป็นอุปรากรเรื่องสุดท้ายของเขา ซึ่งเปิดแสดงเป็นปฐมฤกษ์ที่โรงละคร Festival Theater แห่งเมือง Bayreuth เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ค.ศ. 1882 ได้ประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวง หลังจากไปชมอุปรากรของตนในวันนั้นแล้ววากเนอร์ก็ล้มป่วย เขาจึงเดินทางไปเวนิส (Venice) พร้อมด้วยครอบครัว และได้จบชีวิตลงด้วยโรคหัวใจวายอย่างกระทันหัน เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1883 ขณะที่นอนอยู่บนเก้าอี้โซฟา ที่เมืองเวนิส ประเทศอิตาลี เขามีอายุได้ 70 ปี ศพของวากเนอร์ได้ฝังไว้ที่สวนในบ้าน Wahnfried ของเขาในเมือง Bayreuth เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1883
ต่อมา ค.ศ. 1930 จึงได้นำศพภรรยาคนที่ 2 ของเขามาฝังไว้ข้างเคียงกันที่นั่นด้วย


ผลงานที่มีชื่อเสียง
ผลงานที่เด่นประกอบด้วย The Mastersingers of Nuremberg :
Prelude 1868Lohengrin : Bridal March 1850, Siegfried Idy II 1870, The Valkyries : Ride of the Valkyries 1870
Top   
9. จิอุเชปเป แวร์ดี (Giuseppe Verdi,1813-1901)
ผู้ประพันธ์เพลงประเภทโอเปร่า ชาวอิตาเลียน เกิดที่หมู่บ้านเล็ก ๆ ในเมืองรอนโคล
(Le Roncole) ซึ่งอยู่ใกล้กับเมืองบุสเซโต (Busseto) เมื่อ
วันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1813 เป็นลูกชายของคาร์โล แวร์ดี
(Carlo Verdi) และลุยเจีย (Luigia) เป็นผู้ที่ยุ่งเกี่ยวกับวงการเมืองของอิตาลีมาตลอดนอกเหนือจากเป็นนักดนตรี
 เมื่ออายุ 10 ขวบ พ่อได้ส่งเขาไปเรียนหนังสือที่เมืองบุสเซโต ซึ่งอยู่ห่างจากรอนโคลประมาณ 3 ไมล์
พ่อได้นำเขาไปฝากไว้กับเพื่อนที่สนิทคนหนึ่งมีอาชีพเป็นช่างซ่อมรองเท้าอยู่ในเมืองนั้นเมื่อมีเวลาว่างแวร์ดีมักจะไปขลุกอยู่กับแอนโตนิโอ บาเรสซี่ (Antonio Barezzi) เจ้าของร้านขายของชำผู้มั่งคั่งและที่สำคัญที่สุดก็คือที่นั่นมีแกรนด์เปียโนอย่างดีทำมาจากกรุงเวียนนา แวร์ดีมักจะมาขอเขาเล่นเสมอ ๆ เมื่อบาเรสซี่เห็นหน่วยก้านเด็กคนนี้ว่าต่อไปอาจจะเป็นนักดนตรีผู้อัจฉริยะ จึงรับมาช่วยงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ร้านขายของชำของเขาในตอนเย็นหลังจากเลิกโรงเรียนแล้วจากนั้นไม่นานนักเขาก็ตัดสินใจรับเด็กน้อยแวร์ดีมาอยู่ที่ร้านและอยู่ในความอุปการะของเขา ที่นี่เองเด็กชายวัย 14 ขวบ ก็ได้เล่นเปียโนดูเอทคู่กับมาร์เกริตา (Margherita)
เด็กหญิงวัย 13 ขวบ ซึ่งเป็นลูกสาวของบาเรสซี่นั่นเอง ซึ่งต่อมาทั้งคู่ก็ได้แต่งงานกันในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1836

บาเรสซี่มักจะใช้เวลาส่วนมากมาคอยดูแลและนั่งฟังเด็กน้อยทั้งสองเล่นเปียโนด้วยความพอใจอย่างยิ่งเขาให้ความรักและสนิทสนมกับเด็กน้อยแวร์ดีอย่างลูกชายของเขาทีเดียว ผลงานส่วนใหญ่ของแวร์ดี คืออุปรากรหรือโอเปร่า (Opera) เพราะสมัยของแวร์ดีนั้น ชาวอิตาเลียนชอบชมอุปรากรมากแวร์ดีเป็นคนที่มีความเสียสละมาตลอดชีวิตเมื่อภรรยาและตัวเขาเองตายไปแล้วทรัพย์สมบัติทั้งหมดก็ถูกนำไปใช้สร้างอาคารสงเคราะห์ให้เป็นที่พักอาศัยของนักดนตรีที่ยากจนนอกนั้นก็นำไปใช้สร้าง
โรงแสดงดนตรีแวร์ดี (Verdi Concert Hall) และพิพิธภัณฑ์แวร์ดี (Verdi Museum) ในเมืองมิลาน เป็นอนุสาวรีย์เตือนชาวโลกให้รำลึกถึงเขาในฐานะคีตกวีผู้ยิ่งใหญ่ของ อิตาลีและของโลก
การมรณกรรมของเขาจึงมิใช่เป็นการสูญเสียผู้ประพันธ์โอเปร่าที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น
ผลงานที่มีชื่อเสียง
ผลงานโอเปร่าที่เด่นประกอบด้วย Nabucco : Chorus 1842, Macbeth : Aria from Act III 1847,La traviata 1853, Aida : Triumphal Scene 1871



Top


10. โยฮันเนส บราห์มส์ (Johannes Brahms, 1833-1897)
ผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นอีกคนหนึ่งชาวเยอรมัน แต่มาตั้งรกรากใช้ชีวิตนักดนตรีจนถึงแก่กรรม ณ กรุงเวียนนาเกิดที่เมืองฮามบวร์ก (Hamburg)
เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ.1833 บิดาชื่อ โยฮัน ยาค็อบ บราห์มส์ (Johann Jakob Brahms) ซึ่งเป็นนักดนตรีที่เล่นดับเบิลเบส (Double bass) ประจำโรงละคร
เมืองฮามบวร์ก ในวัยเด็กบราห์มส์แสดงให้พ่อเห็นพรสวรรค์ทางดนตรีพออายุราว ๆ 5-6 ขวบพ่อก็เริ่มสอนดนตรีเบื้องต้นให้ ครอบครัวของเขาค่อนข้างยากจนพ่อและแม่ต้องดิ้น
 รนและประหยัดเพื่อหาครูที่ดีที่สุดเท่าที่จะหาได้มาสอนเปียโนและการประพันธ์ดนตรีให้แก่ลูกน้อยพ่อเองเคยได้รับบทเรียนมาก่อนเมื่อถูกกีดกันไม่ให้เรียนดนตรีในวัยเด็กต้องแอบฝึกซ้อมเอาเองเท่าที่โอกาสด้วยความที่พ่อเองรักดนตรีและบราห์มส์ก็ชอบดนตรีอย่างพ่อ พ่อจึงสนับสนุนอย่างเต็มที่แม่เองก็เป็นคนที่รักดนตรีเช่นกันดังนั้นเขาจึงไม่มีอุปสรรคในเรื่องการเรียนดนตรีมีก็แต่ความขัดสนเรื่องเงิน อย่างไรก็ตามเพื่อให้ความหวังเป็นจริงพ่อจึงคิดหารายได้ให้มากกว่าที่เป็นอยู่จึงแยกตัวออกจากวงออร์เคสตร้ามาตั้งวงขนาดย่อม ๆ แบบวงดนตรีเชมเบอร์ มิวสิก (Chamber Music) รับจ้างเล่นตามสถานที่ต่าง ๆ
(ไพบูลย์ กิจสวัสดิ์, 2535 :176)

บราห์มส์เรียนเปียโนกับ คอสเซ็ล (Cossel) เมื่ออายุ 8 ขวบ จากนั้นพออายุได้ 10 ขวบ ก็เปลี่ยนไปเรียนกับ มาร์กเซ็น (Marxsen) บราห์มส์ประพันธ์ดนตรีและรับจ้างเรียบเรียงแนวบรรเลงให้กับวงดนตรีเล็ก ๆ ตามร้านกาแฟและวงดนตรีของพ่อด้วย เขาเคยบอกว่ามีบ่อยครั้งที่คิดดนตรีขึ้นมาได้ระหว่างที่กำลังขัดร้องเท้าตอนเช้าตรู่ขณะที่คนอื่นยังไม่ตื่นMarion Bauer และ Ethel Peyser ได้กล่าวถึงผลงานและความสามารถของบราห์มส์ไว้ว่า “มันไม่ใช่ของง่ายที่จะเขียนถึงบราห์มส์โดยไม่ทำให้คนอ่านรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องเกินความจิรง” หรือคำชื่นชมที่ว่า “ถ้าเราพูดถึงเชมเบอร์ มิวสิก (Chamber Music) เราต้องรับว่าเขาเข้าใจวิธีเขียนให้เหมาะสมกับเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงอย่างไม่มีใครทำได้ดีเท่าทั้งก่อนและหลังสมัยของ บราห์มส์” “ใครพบที่ไหนบ้างว่ามีไวโอลิน คอนแชร์โต้ (Violin Concerto) และเปียโน คอนแชร์โต้ (Piano Concerto) ที่สวยสดงดงามยิ่งกว่าของบราห์มส์”ที่ยกตัวอย่างข้างต้นนั้นแสดงให้เห็นถึงความสามารถของบราห์มส์ว่าเป็นที่ยอมรับของคนทั่วไปและผลงานของเขาก็ยังถือว่าเป็นอมตะตลอดกาล ด้วยความที่บราห์มส์เป็นคนที่สุภาพถ่อมตัวมาก หากเขายังอยู่เขาคงป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ชนรุ่นหลัง ๆ ยกย่องชมเชยเขาเนื่องจากผลงานของบราห์มส์เขียนขึ้นมาด้วยความหวังผลประโยชน์ที่เป็นวัตถุ เขาคงจะพอใจที่มีคนเข้าใจเขาเช่นนี้ เพราะมันเป็นความจริงที่เขาเองคงอยากให้คนทั้งโลกรู้และปฏิบัติตาม
ผลงานที่มีชื่อเสียง
ผลงานดนตรีของบราห์มส์ส่วนใหญ่สะท้อนให้เห็นความรู้สึกอัดอั้นตันใจในความรัก ดนตรีของบราห์มส์ที่เด่นประกอบด้วย Four Ballades 1854, Cradle Song 1868, Symphony
No.1 in Cm 1876, etc….



11. จอร์จ บิเซต์ (George Bizet, 1838-1875)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศส เกิดที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1838 พ่อเป็นครูสอนร้องเพลงและแม่เป็นนักเปียโนบิเซต์เรียนดนตรีโดยแม่เป็น ผู้สอนให้โดยการสอน เอ บี ซี ไปพร้อมกับสอน โด เร มี ฯลฯ
บิเซต์ชอบดนตรีมาก เขาสามารถร้องเพลงที่ยากมากได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องดนตรีช่วยในช่วงเด็ก สร้างความภาคภูมิใจและความประหลาดใจให้แก่ทั้งครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง
 จากความเก่งเกินกว่าเด็กอื่น ๆ ในขณะอายุเพียง 9 ขวบ พ่อแม่จึงส่งไปทดสอบเพื่อเรียน
ในสถาบันการดนตรี (Conservatory) จนสามารถผ่านการทดสอบ ซึ่งนับว่าเป็นกรณีพิเศษอย่างยิ่งที่สถาบันแห่งนี้รับนักศึกษาอายุ 9 ขวบ

บิเซต์เป็นที่ชื่นชมยินดีของครูที่สอนเนื่องจากเขาเป็นคนที่สุขภาพดีหน้าตาดี อ่อนโยนด้วย
มิตรภาพ ไม่อวดเก่งและอุปนิสัยดีซึ่งเป็นคุณสมบัติที่นักดนตรีในรุ่นหลัง ๆ น่าจะให้เป็นตัวอย่างเป็น
อย่างยิ่งอายุ 18 ปี เขาก็ได้รับรางวัลปรีซ์ เดอ โรม (Prix de Rome) ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับนักประพันธ์
ดนตรีวัยรุ่นให้ได้เข้าไปอยู่ใน French Academy ในโรม อิตาลีเป็นการเจือจุนให้ได้ใช้เวลาอย่างเต็มที่ในการประพันธ์ดนตรีอย่างเดียว รางวัลนี้เป็นความฝันของนักศึกษาวิชาดนตรีในฝรั่งเศสทุกคน
(ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :170)


บิเซต์เป็นนักเปียโนฝีมือดีแม้จะไม่ได้ออกแสดงต่อสาธารณะชน เขาสามารถหาเลี้ยงชีพได้ไม่ยากนักด้วยการรับสอนแต่บิเซต์มีความทะเยอทะยานที่จะมีชื่อเสียงในฐานะทั้งนักเปียโนและ นักประพันธ์ดนตรี บิเซต์ลองทำทุกอย่างเท่าที่มีโอกาสแม้แต่การเขียนคอลัมน์ดนตรี บทความชิ้นหนึ่งของเขาพูดถึงแฟชั่นและตัวการที่มีผลต่อวงการดนตรี เขาเขียนด้วยความรู้สึกอันดีประจำตัวเขามีใจความว่า “โลกเรามีดนตรีฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาเลียน ฮังการี โปแลนด์ และอีกมากมาย…..เรามีดนตรีอนาคต ดนตรีปัจจุบันและดนตรีในอดีต แล้วก็ยังมีดนตรีปรัชญา ดนตรีการเมือง และดนตรีที่พบใหม่ล่าสุด…..แต่สำหรับข้าพเจ้าดนตรีมีอยู่ 2 ชนิดเท่านั้น คือ ดนตรีดี กับดนตรีเลว”
ผลงานที่มีชื่อเสียง
ในชีวิตอันสั้นของบิเซต์ ผลงานชิ้นเอกคือดนตรีสำหรับอุปรากร สำหรับเรื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเขาคือ “คาร์เม็น” (Carmen) แต่เป็นที่น่าเสียดายที่เขาถึงแก่กรรมก่อนที่จะได้เห็นความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่สุดของคาร์เม็น นอกจากนี้ก็มี The Girl from Arles (L’ Arlesienne), The Pearl Fishers, The Fair Maid of perth บิเซต์ถึงแก่กรรมเมื่อ
วันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1875 ที่กรุงปารีส เมื่ออายุเพียง 37 ปี




Top 

12. ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี (PeterIlich Tchaikovsky,1840-1893)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวรัสเซียคนแรกที่เป็นที่รู้จักในวงการนานาชาติ เป็นบุตรคนที่ 2 ในจำนวน 5 คน ของ อิลยา เปโตรวิช ไชคอฟสกี (Ilya Petrovititch Tchaikovsky) และ
อเลกซานดรา (Alexandra) เกิดที่เมืองว็อทกินสค์ (Voltkinsk) เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 1840 เป็นผู้ประพันธ์เพลงยอดนิยมคนหนึ่งในบรรดาผู้ประพันธ์ที่ยิ่งใหญ่ของโลกดนตรี
ไชคอฟสกีเป็นคีตกวีที่แปลกไปกว่าท่านอื่น ๆ กล่าวคือทุกๆคนมักจะเรียนและเล่นดนตรีเก่งชนิดอัจฉริยะ
ตั้งแต่อายุยังน้อยส่วนไชคอฟสกีมาเริ่มเรียนดนตรีจริงจังก็เมื่ออายุ 21 ปี เนื่องจากเขาต้องเรียนกฎหมาย ตามความต้องการของพ่อจนกระทั่งจบปริญญาตรีทางกฎหมาย และออกมาทำงานรับราชการในกระทรวงยุติธรรม แต่ด้วยความสนใจและความชอบซึ่งมีเป็นทุนอยู่แล้วไชคอฟสกีจึง หันเหชีวิตมาเรียนดนตรีอย่างจริงจังในสถาบันดนตรีแห่งเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ในวิชาการเรียบเรียงเสียงประสานสำหรับวงออร์เคสตรา (Orchestration) เทคนิคการเล่นเปียโนและออร์แกน

ชีวิตของไชคอฟสกีก็คงเหมือน ๆ กับคีตกวีคนอื่น ๆ ทั่ว ๆ ไป กล่าวคือมีทั้งสุขและทุกข์ระคนกันไปชีวิตเหมือนนิยายมากกว่าชีวิตจริง เพราะยามที่ตกอับจะมีกินก็เพียงประทังความหิว และมีที่อยู่อาศัยเพียงแค่ซุกหัวนอน ในยามเมื่อคนอื่นไม่เห็นคุณค่าผลงานของเขาก็ไม่มีค่าอะไร แต่ยังดีที่มีผู้ที่เห็นความสำคัญและคอยจุนเจือค้ำจุนเสมอมาอย่างแทบไม่น่าเชื่อเธอผู้นั้นก็คือ มาดามฟอน เมค (Nadezhda von Meck) เศรษฐีนีหม้ายผู้มั่งคั่ง เธอให้เงินสนับสนุนไชคอฟสกีโดยไม่เคยหวังผลตอบแทนใด ๆ เธอมีความสุขที่ได้มีโอกาสสนับสนุนผู้อื่นให้ทำงานที่เธออยากทำแต่ทำไม่ได้ เพราะเธอเคยใฝ่ฝันที่จะเป็นนักประพันธ์ดนตรีแต่ไม่สามารถทำได้ด้วยใจรักดนตรีในยามว่างจากภาระกิจเธอมักจะนั่งฟังดนตรีเสมอ ดั้งนั้นเธอจึงทดแทนส่วนนี้ด้วยการสนับสนุน ตามความเป็นจริงแล้วถ้าหากในโลกนี้มีคนดีอย่างมาดามฟอน เมค (Nadezhda von Meck) มาก ๆ คงเป็นการดีและทำให้คนในวงการดนตรีมีโอกาสผลิตผลงานที่ดีออกสู่สาธารณะชนมากขึ้น

ไชคอฟสกีผู้ซึ่งในระหว่างที่มีชีวิตอยู่เขาไม่เคยได้รับเกียรติอย่างจริงจังจากชาวรัสเซียเลยตรงกันข้ามกับทางยุโรปและอเมริกานิยมชมชื่นในตัวเขามากขณะที่ชื่อเสียงกำลังโด่งดังอยู่นั้นเขาก็ด่วนจบชีวิตลงเสียก่อนซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอยู่มากที่พยายามสร้างงานมากมายแต่บัดนี้เขาเป็นคีตกวีที่ชาวรัสเซียภูมิใจมากที่สุด (ณรุทธ์ สุทธจิตต์,2535 :171)

ไชคอฟสกีถึงแก่กรรมด้วยโรคอหิวาต์ซึ่งเกิดจากความไม่เฉลียวใจหลังจากที่รับประทานอาหารเสร็จไชคอฟสกีไปเปิดน้ำประปาที่ก๊อกมาดื่มโดยไม่ได้นำมาต้มเสียก่อน เพราะขณะนั้นที่เมืองเซ็นต์ปีเตอร์สเบริ์กมีโรคระบาดพอดีและมีคนคอยเตือนแล้ว ในที่สุดก็ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1893

.
ผลงานที่มีชื่อเสียง
ผลงานที่เด่นประกอบด้วย Romeo and Juliet : Fantasy Overture 1870,
Swan lake 1875-76, Eugene Onegin:Waltz 1879, The Nutcracker-Nutcracker March 1892….
Top 



13. อันโทนิน ดวอชาค (Antonin Dvorak,1841-1904)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวโมฮีเมียน (เชคโกสโลวาเกีย) เกิดเมื่อวันที่ 8 กันยายน
ค.ศ. 1841 ที่เมืองเนลาโฮเซเวส (Nelahozeves) บิดาชื่อฟรันซ์
ดวอชาค (Franz Dvorak) มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน ดวอชาคเป็นผู้ประพันธ์เพลงในกลุ่มชาตินิยม ลักษณะที่สังเกตง่ายในดนตรีของดวอชาคนั้นก็เช่นเดียวกับดนตรีของบราห์มส์ (Brahms) และไชคอฟสกี (Tchaikovsky) ซึ่งอยู่ในสมัย โรแมนติกเช่นกันกล่าวคือมีลีลาที่ชวนให้ตื่นเต้นและการเรียบเรียงแนวบรรเลงสำหรับวงออร์เคสตราดีเลิศ
ดวอชาคประพันธ์เพลงไว้เกือบทุกประเภทที่นิยมกันในสมัยโรแมนติก แต่ที่เด่นกลับเป็นงาน ในแบบบรรเลงมากกว่าแบบร้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรเลงด้วยวงออร์เคสตราที่เรียกว่ “ออร์เคสทรัล มิวสิค” (Orchestral Music)
ผลงานที่มีชื่อเสียง
ผลงานที่เด่นประกอบด้วย Serenade for String in E : Moderato 1875, The Mother Stands Full of Sorrow 1876-80, Slavonic Dance No8 in G miner 1878, Symphony No.9 “From the New World : Largo”1892-95 etc..

14. จิอะโคโม ปุกชินี (Giacomo Puccini, 1858-1924)
ผู้ประพันธ์เพลงชาวอิตาเลียน เกิดเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม ค.ศ. 1858 ที่ลุคคา (Lucca) บิดาชื่อมิเชล ปุชชินี (Michele Puccini) ซึ่งเป็น นักออร์แกนและอัลบินา ปุกชินี (Albina Puccini) มีพี่สาว 4 คน และน้องสาว 1 คน พ่อถึงแก่กรรมเมื่อปุกชินีอายุเพียง 6 ขวบ แม่ก็เป็นผู้เลี้ยงดูเพียงลำพังด้วยพลังจิตอันแข็งแกร่ง แม่มักอบรมลูก ๆ อยู่
เสมอว่า “คนขี้ขลาดจะอยู่ในโลกด้วยความลำบาก” และจากคติของชาวอิตาเลียนที่ถือว่า “ลูกแมวก็ย่อมจะจับหนูได้” (The children of cats catch mice) จึงทำให้ทางราชการเมืองลุคคา ได้ยื่นมือให้ความช่วยเหลือครอบครัวของเขาโดยหวังว่าสักวันหนึ่งปุกชินี ต้องสามารถเป็นนักออร์แกนแทนพ่อของเขาได้

จนเมื่อปุกชินีอายุได้ 14 ปีเขาก็สามารถเล่นออร์แกนตามโบสถ์ต่าง ๆ หลายแห่งได้ตลอดจนเล่นเปียโนตามสถานที่เต้นรำได้บ้าง พออายุได้ 19 ปีก็สามารถแต่งเพลงโมเต็ต (Motet)ได้ นอกจากนี้ยังได้ทำงานเป็นนักออร์แกนประจำอยู่ San Martino ในระหว่างที่เรียนไปด้วย

ปุกชีนีเป็นคีตกวีที่มีความสามารถในด้านการประพันธ์อุปรากรโดยเฉพาะเรื่อง ลา โบแฮม (La Boheme) เป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนอารมณ์อย่างแรงเพราะปุกชินีคิดเปรียบเทียบตัวเขาเองว่าคล้ายกับโรดอลโฟ (Rodolfo) พระเอกในเรื่อง พอเรื่องดำเนินถึงบทของมิมี (Mimi) นางเอกของเรื่องกำลังจะตายปุกชินีจะนั่งน้ำตาไหลเพราะมีอารมณ์คล้อยตามเรื่องไปด้วย

ปุกชินีได้ตั้งปณิธานไว้ว่าจะต้องแต่งอุปรากรที่ทำความสั่นสะเทือนอารมณ์และความรู้สึกของคนทั่วทั้งโลกให้ได้เขาจึงศึกษาและอ่านหนังสือต่าง ๆ นับเป็นพัน ๆ เรื่อง แล้วเขาจึงแต่งมหาอุปรากรเรื่องทอสกา (Tosca) ขึ้น ทอสกาเป็นมหาอุปรากรสำคัญเรื่องหนึ่งของโลกได้นำออกแสดงครั้งแรกที่โรงละครเทียโตร กอสตันซี (Teatro Costanzi) ในกรุงโรม อิตาลี เมื่อวันที่ 14 มกราคม
ค.ศ. 1900 และในปีเดียวกันก็นำไปแสดงที่นครลอนดอน ประเทศอังกฤษ และใน นครนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา นับเป็นความสำเร็จอย่างน่าพอใจที่สุดสำหรับปุกชินี

ในบั้นปลายชีวิตของปุกชีนีได้ใช้เวลาหาความสุขสำราญและพักผ่อนหย่อนใจอย่างเต็มที่และสนุกสนานอยู่กับการเล่นเรือยอร์ชการขับรถยนต์คันใหม่ ๆ ใช้เสื้อผ้าราคาแพง ๆ แต่เขาก็สนุกเพลิดเพลินอยู่กับสิ่งเหล่านี้ได้ไม่นานนักก็เบื่อ สิ่งหนึ่งที่ทำให้ใจเขาไม่สบายคือเรื่องผมหงอกของเขาและเขาก็พยายามย้อมให้ดำอยู่เสมอขณะอายุ 66 ปี หมอได้ตรวจพบว่าเขาเป็นมะเร็งในหลอดลมจึงเข้ารับการผ่าตัด เมื่อการผ่าตัดเสร็จเรียบร้อยแล้วโรคหัวใจก็ตามมาอีก ปุกชีนี ถึงแก่กรรมในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1924
ที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม
ผลงานที่มีชื่อเสียง
ผลงานที่สำคัญของปุกชีนี ประกอบด้วย Manon Lescaut, La Boheme, Tosca, Madama Butterfly และ Turandot เสร็จสมบูรณ์โดย Franco Alfano หลังปุกชินีถึงแก่กรรม
นอกจากนี้โอเปร่าชวนหัวองค์เดียวจบ เรื่อง Gianni Schicchi เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่นิยมแสดงเสมอ ปุกชินีเป็นผู้หนึ่งที่เน้นการประพันธ์โอเปร่าในแนวชีวิตจริงด้วยการเน้นสถานการณ์และความรู้สึกพื้นฐานของมนุษย์เป็นหลักของการดำเนินเรื่องราว